Thursday, May 30, 2019

คอเคล็ดมีอาการอย่างนี้

คอเคล็ดมีอาการอย่างนี้


เมื่อบริเวณคอเกิดการบาดเจ็บของเส้นเอ็นหรือกล้ามเนื้อ เรียกอาการนี้ว่า อาการคอเคล็ด อาจเกิดขึ้นโดยไม่พบสาเหตุการบาดเจ็บที่เห็นได้ชัด หรือ เกิดในกรณีได้รับอุบัติเหตุ คอได้รับแรงกระทบอย่างฉับพลัน มีการยืดและหดเกร็งเร็วเกินไป จนเกิดการบาดเจ็บ และมีอาการเคล็ดตามมา อาการคอเคล็ดส่วนใหญ่ดูแลรักษาให้หายได้เอง ด้วยการประคบเย็นและประคบร้อน ร่วมกับการใช้ยาบรรเทาอาการปวด

เมื่อมีอาการคอเคล็ด ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดบริเวณคอด้านที่เคล็ด และปวดมากขึ้น เมื่อเคลื่อนไหวคอ หรือศีรษะ บางคนอาจเคลื่อนไหวคอลำบาก และมีอาการคอแข็ง รู้สึกปวดบริเวณศีรษะด้านหลัง หรือท้ายทอย ปวดหลังช่วงบน และไหล่ นอกจากนี้ อาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย ดังต่อไปนี้
  • เจ็บคอ
  • วิงเวียนศีรษะ
  • หงุดหงิด ไม่มีสมาธิ
  • ได้ยินเสียงวี้ดหรือเสียงคล้ายแมลงหวี่ในหู
  • นอนไม่หลับ
  • อ่อนเพลีย
  • มีอาการชาบริเวณมือหรือแขน
ผู้ที่มีอาการคอเคล็ดควรสังเกตอาการของตนเอง อย่างสม่ำเสมอ และควรไปพบแพทย์เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยอาการ หากเกิดอาการผิดปกติ ดังต่อไปนี้ เนื่องจาก อาจเป็นสัญญาณของอาการบาดเจ็บรุนแรง และเป็นอันตราย
  • ปวดรุนแรงบริเวณที่มีอาการเคล็ด
  • ขยับคอบริเวณที่บาดเจ็บไม่ได้
  • อบวมนูนมากผิดปกติ
  • ผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีคล้ำหรือสีซีด และมีอาการชา
  • บรรเทาอาการด้วยตัวเองในเบื้องต้นแล้วแต่อาการไม่ดีขึ้น


คชาบาล์ม พรีเมี่ยม - สุดยอดบาล์มทานวดรักษาอาการปวดข้อ ปวดเข่า ปวดกระดูก ปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออักเสบ ปวดเส้นเอ็น ปวดต้นคอ คอเคล็ด ปวดหลัง ปวดเอว มือเท้าชา มือล็อค ไหล่ติด เส้นยึด ตาลาย สลายลิ่มเลือด ขับลมออกจากเส้น อัมพฤกษ์ เหน็บชา ตะคริว เก๊าท์ รูมาตอยด์ กระดูกทับเส้น

Wednesday, May 29, 2019

ปวดกล้ามเนื้อมีสาเหตุมาจากอย่างนี้

ปวดกล้ามเนื้อมีสาเหตุมาจากอย่างนี้


โดยทั่วไปแล้ว สาเหตุของการปวดกล้ามเนื้อ ผู้ที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อจะระบุสาเหตุได้ด้วยตัวเอง ซึ่งส่วนใหญ่ เกิดจากการทำกิจกรรมต่างๆ หรือ ความเครียด ได้แก่
  • การเคลื่อนไหวในท่าเดิมซ้ำๆ หรือ ใช้งานกล้ามเนื้อมากเกินไป จนทำให้กล้ามเนื้อเกิดความตึงเครียดสะสม
  • การทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน จนทำให้กล้ามเนื้อได้รับบาดเจ็บ เช่น การทำงาน การออกกำลังกาย เป็นต้น

บางครั้งสาเหตุของการปวดกล้ามเนื้อ มีผลมาจากอาการ โรค หรือ ยา ได้ ซึ่งผู้ป่วยต้องเข้าพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษา ได้แก่ สาเหตุดังต่อไปนี้
  • โรคในกลุ่มกล้ามเนื้อและข้ออักเสบ เช่น โรคโพลีมัยแอลเกีย รูมาติก้า (Polymyalgia Rheumatica) โรคกล้ามเนื้อลายสลาย (Rhabdomyolysis) โรคไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia) โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) เป็นต้น
  • โรคในกลุ่มออโตอิมมูน (Autoimmune) หรือ โรคแพ้ภูมิตนเอง เช่น โรคลูปัส หรือ โรคเอส แอล อี (Lupus, Systemic Lupus Erythematosus) หรือ ที่รู้จักในชื่อโรคพุ่มพวง โรคกล้ามเนื้ออักเสบ (Polymyositis) โรคผิวหนังและกล้ามเนื้ออักเสบ (Dermatomyositis) 
  • โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน เช่น โรคลายม์ (Lyme Disease) ซึ่งเกิดจากเห็บหรือหมัดที่มีเชื้อแบคทีเรียกัด หรือ โรคทริคิโนซิส (Trichinosis) เกิดจากการกินเนื้อสัตว์ดิบ ที่มีพยาธิตัวกลมขนาดเล็ก ชื่อ ทริคิเนลลา สไปราลิส (Trichinella Spiralis)  เป็นต้น
  • เกลือแร่ในเลือดไม่สมดุล (Electrolyte Imbalance) เช่น ปริมาณโพแทสเซียม หรือ แคลเซียม ในร่างกายน้อยเกินไป ซึ่งสามารถทราบได้ด้วย การตรวจเลือด หรือ ปัสสาวะ
  • การติดเชื้อต่างๆ รวมไปถึงโรคมาลาเลีย ไข้หวัด ฝีที่กล้ามเนื้อ โรคโปลิโอ 
  • การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาลดไขมันในกลุ่มสแตติน (Statins) ยาลดความดันโลหิต โคเคน เป็นต้น



คชาบาล์ม พรีเมี่ยม - สุดยอดบาล์มทานวดรักษาอาการปวดข้อ ปวดเข่า ปวดกระดูก ปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออักเสบ ปวดเส้นเอ็น ปวดต้นคอ ปวดหลัง ปวดเอว มือเท้าชา มือล็อค ไหล่ติด เส้นยึด ตาลาย สลายลิ่มเลือด ขับลมออกจากเส้น อัมพฤกษ์ เหน็บชา ตะคริว เก๊าท์ รูมาตอยด์ กระดูกทับเส้น

คอเคล็ด

Tuesday, May 28, 2019

ปวดข้อเท้า หมอวินิจฉัยอย่างนี้

ปวดข้อเท้า หมอวินิจฉัยอย่างนี้


ปวดข้อเท้า เป็นภาวะที่รู้สึกไม่สบายหรือปวดตรงข้อเท้า เกิดได้หลายสาเหตุ ตั้งแต่อาการข้อเท้าเคล็ดธรรมดา ไปจนถึงกระดูกข้อเท้าหัก และบางครั้งปวดข้อเท้ามาก จนทำให้ทิ้งน้ำหนักลงบนข้อเท้าไม่ได้ เดินลำบาก หรือ เดินไม่ได้เลย อาการปวดข้อเท้านี้ป้องกันได้ด้วยการใส่ใจและดูแลข้อเท้า ใช้ข้อเท้าอย่างระมัดระวัง หากมีอาการปวดข้อเท้า อาจรักษาได้ด้วยการพักใช้งานข้อเท้า การประคบ หรือ ปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำเพิ่มเติม แล้วแต่กรณีไป
เมื่อผู้ป่วยไปพบแพทย์ แพทย์อาจวินิจฉัยอาการปวดข้อเท้า ด้วยการซักประวัติ และข้อมูลต่างๆ ของผู้ป่วย เช่น
  • ลักษณะของอาการ และระยะเวลาที่มีอาการ
  • แผล หรือ อาการบาดเจ็บอื่นๆ บริเวณข้อเท้า
  • การใช้งานข้อเท้า
  • โรคประจำตัวของผู้ป่วย ที่อาจเกี่ยวข้องกับ อาการปวดข้อเท้า
นอกจากนี้ แพทย์จะตรวจบริเวณข้อเท้า เพื่อหาความผิดปกติอื่นๆ เพิ่มเติม ได้แก่ อาการอุ่น บวมแดง  กดเจ็บ หรือ อาการข้อต่อหลวม เป็นต้น โดยแพทย์อาจเลือกใช้วิธีทดสอบเพียงวิธีใดวิธีหนึ่ง หรือใช้หลายวิธีในการวินิจฉัยร่วมกัน ซึ่งจะแตกต่างกันไป แล้วแต่กรณีและดุลยพินิจของแพทย์ หากแพทย์สงสัยว่าข้อเท้าหัก แพทย์อาจตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีอื่นๆ เช่น การเอกซเรย์ข้อเท้า เป็นต้น

คชาบาล์ม พรีเมี่ยม - สุดยอดบาล์มทานวดรักษาอาการปวดข้อ ปวดเข่า ปวดกระดูก กล้ามเนื้ออักเสบ ปวดเส้นเอ็น ปวดต้นคอ ปวดหลัง ปวดเอว มือเท้าชา มือล็อค ไหล่ติด เส้นยึด ตาลาย สลายลิ่มเลือด ขับลมออกจากเส้น อัมพฤกษ์ เหน็บชา ตะคริว เก๊าท์ รูมาตอยด์ กระดูกทับเส้น

Monday, May 27, 2019

กล้ามเนื้ออักเสบ หมอรักษาด้วยวิธีนี้

กล้ามเนื้ออักเสบ หมอรักษาด้วยวิธีนี้


วิธีรักษาผู้ป่วยอาการกล้ามเนื้ออักเสบ จะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่เป็น หากแพทย์วินิจฉัยแล้วว่าเป็นกล้ามเนื้ออักเสบที่เกิดจากอาการอักเสบอื่นๆ แพทย์อาจรักษาด้วยยากดระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ได้แก่ ยาเพรดนิโซน (Prednisone) ยาเมโธเทรกเซต (Methotrexateและยาอะซาไธโอพรีน (Azathioprine
กล้ามเนื้ออักเสบที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อ โดยมากพบว่าเป็นเชื้อไวรัส ไม่จำเป็นต้องรักษา แต่หากเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ก็มักจะต้องได้รับยาปฏิชีวนะ เพื่อป้องกันการแพร่ของเชื้อ ที่อาจอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้
กรณีกล้ามเนื้ออักเสบเป็นผลจากการใช้ยา วิธีรักษาก็คือ การหยุดให้ยาชนิดนั้นๆ เช่น การใช้ยาสแตตินเพื่อลดไขมันในเลือด หลังหยุดรับประทานยาชนิดนี้ 2-3 สัปดาห์ อาการอักเสบของกล้ามเนื้อก็จะบรรเทาลงในที่สุด
ผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อลายสลายตามมา จากการอักเสบของกล้ามเนื้อ แม้พบได้ไม่บ่อย แต่สามารถทำให้ไตได้รับความเสียหายอย่างถาวรได้ ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล เพื่อรับสารน้ำทางหลอดเลือดจำนวนมาก อย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน แพทย์จะเฝ้าดูการทำงานของไต หากมีอาการรุนแรง อาจจำเป็นต้องฟอกไต

คชาบาล์ม พรีเมี่ยม - สุดยอดบาล์มทานวดรักษาอาการปวดข้อ ปวดเข่า ปวดกระดูก กล้ามเนื้ออักเสบ ปวดเส้นเอ็น ปวดต้นคอ ปวดหลัง ปวดเอว มือเท้าชา มือล็อค ไหล่ติด เส้นยึด ตาลาย สลายลิ่มเลือด ขับลมออกจากเส้น อัมพฤกษ์ เหน็บชา ตะคริว เก๊าท์ รูมาตอยด์ กระดูกทับเส้น

Sunday, May 26, 2019

ชาปลายนิ้ว หมอรักษาอย่างนี้

ชาปลายนิ้ว หมอรักษาอย่างนี้


เมื่อมีอาการชาปลายนิ้วเกิดขึ้น ผู้ป่วยอาจดูแลตัวเองในเบื้องต้น ดังนี้
  • หยุดพักการทำกิจกรรม ที่ทำให้รู้สึกเจ็บ หรือ มีอาการชา
  • ลุกขึ้นยืดเส้นยืดสาย ขยับนิ้วมือแขนขา หลังจากนั่ง หรือ อยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานาน จนทำให้เกิดอาการชาปลายนิ้ว
  • ปลด หรือ คลาย เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย และ รองเท้าที่สวมใส่อยู่ ให้หลวมขึ้น
  • อาจใช้น้ำแข็งช่วยประคบ บริเวณที่มีอาการอักเสบบวม
  • ออกกำลังบริหารร่างกาย โดยเฉพาะ บริเวณนิ้วและแขนขา เช่น ยืดและกางนิ้วให้ตึง สะบัดแขน หมุนไหล่
หากอาการยังไม่ดีขึ้น หรือ มีอาการเกิดขึ้นบ่อยๆ จนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน หรือ ทำให้ผู้ป่วยเกิดความกังวลใจ ผู้ป่วยควรไปปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัย โดยแพทย์จะรักษาตามอาการ และสาเหตุที่มาของอาการชาปลายนิ้ว เช่น

การใช้ยา แพทย์อาจจ่ายยา หรือ แนะนำให้ผู้ป่วย ใช้ยาแก้ปวด และ ยาต้านอาการอักเสบ ที่ไม่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ (NSAIDs) ที่หาซื้อได้ ตามร้านขายยา เพื่อรักษาอาการอักเสบของเส้นประสาท ที่ทำให้ชาปลายนิ้ว เช่น ไอบูโพรเฟน หรือ พาราเซตามอล เป็นต้น ทั้งนี้ หากผู้ป่วยรับประทานยาแล้ว ไม่ได้ผล แพทย์อาจลดอาการอักเสบด้วยการฉีดสเตียรอยด์
การใส่เฝือก หรือใส่ผ้ารัด บริเวณข้อมือและข้อศอก เพื่อให้กระดูกบริเวณนั้น อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม เป็นการรักษาภาวะกระดูกกดทับเส้นประสาท
การผ่าตัด ในผู้ป่วยบางราย แพทย์อาจทำการผ่าตัดเส้นประสาทถูกกดทับ หรือ ได้รับความเสียหาย  เช่น การผ่าตัดแก้ไขเส้นประสาทที่กดทับ ทำให้เกิดอาการชา บริเวณนิ้วนางกับนิ้วก้อย การผ่าตัดเพื่อนำกระดูก เนื้อเยื่อ หรือ สิ่งที่กดทับเส้นประสาท ออก การผ่าตัดแก้ไขเส้นประสาทอัลนาร์ 
นอกจากนี้ แพทย์จะพิจารณาทำการรักษา ตามอาการและสาเหตุ ที่มาของอาการอย่างเหมาะสม เป็นรายกรณี

คชาบาล์ม พรีเมี่ยม - สุดยอดบาล์มทานวดรักษาอาการปวดข้อ ปวดเข่า ปวดกระดูก กล้ามเนื้ออักเสบ ปวดเส้นเอ็น ปวดต้นคอ ปวดหลัง ปวดเอว มือเท้าชา มือล็อค ไหล่ติด เส้นยึด ตาลาย สลายลิ่มเลือด ขับลมออกจากเส้น อัมพฤกษ์ เหน็บชา ตะคริว เก๊าท์ รูมาตอยด์ กระดูกทับเส้น

Friday, May 24, 2019

กระดูกคอเสื่อมป้องด้วยวิธีนี้

กระดูกคอเสื่อมป้องด้วยวิธีนี้


กระดูกคอเสื่อม เป็นความเสื่อมของกระดูกสันหลังตรงบริเวณคอ มักพบในผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่แล้ว เกิดขึ้นโดยไม่มีสัญญาณเตือน เมื่ออายุเพิ่มมากอาการรุนแรงก็จะมีมากขึ้น จนส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แม้กระนั้น ผู้ป่วยก็สามารถบรรเทาอาการเจ็บปวดได้ โดยไม่ต้องรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด แต่จะไม่สามารถหายสนิท เนื่องจาก เป็นกระบวนการเสื่อมสภาพของร่างกายตามธรรมชาติ
ในส่วนของการป้องกัน กระดูกคอเสื่อมไม่สามารถป้องกันได้ เนื่องจาก เป็นความเสื่อมสภาพทางร่างกาย ที่มักเกิดขึ้นตามอายุที่มากขึ้น ทำได้เพียง ลดความเสี่ยง ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
1. คอยระมัดระวังให้คออยู่ในท่าทางที่เหมาะสม ขณะอยู่ในอิริยาบทต่างๆ ทั้งยืน นั่ง หรือ เดิน เพื่อป้องกันการบาดเจ็บที่คอ

2. ออกกำลังกาย และทำกิจกรรม เพื่อเคลื่อนไหวร่างกาย อย่างสม่ำเสมอ

3. ระมัดระวังในการออกกำลังกาย หรือการเล่นกีฬา ที่มีความเสี่ยง หรือ สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันตัว เพื่อหลีกเลี่ยง การได้รับบาดเจ็บบริเวณคอเสมอ

คชาบาล์ม พรีเมี่ยม - สุดยอดบาล์มทานวดรักษาอาการปวดข้อ ปวดเข่า ปวดกระดูก กล้ามเนื้ออักเสบ ปวดเส้นเอ็น ปวดต้นคอ ปวดหลัง ปวดเอว มือเท้าชา มือล็อค ไหล่ติด เส้นยึด ตาลาย สลายลิ่มเลือด  ขับลมออกจากเส้น อัมพฤกษ์ เหน็บชา ตะคริว เก๊าท์ รูมาตอยด์ กระดูกทับเส้น

หมอนรองกระดูกเสื่อม

หมอนรองกระดูกเสื่อม



หมอนรองกระดูกเสื่อม เป็นการเสื่อมสภาพของหมอนรองกระดูก หรือ ชั้นเนื้อเยื่อ ที่อยู่ระหว่างข้อกระดูกสันหลังแต่ละข้อ ซึ่งหมอนรองกระดูกนี้ มีหน้าที่ลดแรงกระแทก และกระจายแรงของน้ำหนักตัว ที่ส่งผ่านมายังกระดูกสันหลัง ช่วยให้คนเราเคลื่อนไหว ในท่าทางต่างๆ ได้ หมอนรองกระดูกเสื่อม อาจเกิดจาก อายุที่เพิ่มขึ้น น้ำหนักตัว การอยู่ในอิริยาบทบางท่าซ้ำๆ และการได้รับบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง โดยผู้ป่วย อาจรู้สึกปวดเพียงเล็กน้อย หรือ ปวดอย่างรุนแรง จนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ก็เป็นได้

ผู้ป่วยหมอนรองกระดูกเสื่อม บางคน อาจไม่มีอาการเจ็บปวด บางคน รู้สึกปวดอย่างรุนแรง จนรบกวนการทำกิจวัตรประจำวัน โดยลักษณะอาการปวด ของภาวะหมอนรองกระดูกเสื่อม ที่พบได้บ่อย มีดังต่อไปนี้
  • ปวดบริเวณหลังส่วนล่าง และอาจปวดลาม ไปถึงขาและสะโพก
  • หากปวดบริเวณลำคอ อาจปวดลามไปถึงแขน
  • อาจปวดมากขึ้น เมื่ออยู่ในท่านั่ง เป็นเวลานาน
  • ปวดมากขึ้นหลังจากก้ม เอื้อมหยิบของ หรือ เอี้ยวตัว 
  • อาการปวดแบบเป็นๆ หายๆ โดยอาจเป็นกินระยะเวลานาน ตั้งแต่ 2-3 วัน ไปถึงหลายเดือน
  • หลังจากเดิน หรือออกกำลังกาย อาจรู้สึกปวดน้อยลง 
  • อาจส่งผลให้กล้ามเนื้อขาอ่อนแรง และรู้สึกชาที่ขาหรือแขน
  • อาการเจ็บหลังเกิดอุบัติเหตุ เช่น รถชน ตกจากที่สูง ตกต้นไม้ เป็นต้น
หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม เกิดขึ้นได้ กับกระดูกสันหลังทุกส่วน แต่พบบ่อย บริเวณเอว และคอ  นอกจากนี้ ผู้ป่วยที่มีภาวะนี้ ยังเสี่ยงเกิดโรคเกี่ยวกับกระดูกสันหลังตามมา ได้แก่ โรคกระดูกทับเส้น โรคข้อเสื่อม และโรคโพรงกระดูกสันหลังเอวตีบแคบ ซึ่งอาจส่งผล ให้เกิดแรงกด ต่อกระดูกสันหลัง และเส้นประสาท ทำให้รู้สึกปวด และกระทบต่อการทำงานของเส้นประสาท

เมื่อมีอาการปวดหลังตามลักษณะดังที่กล่าวมา ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและทำการรักษา

คชาบาล์ม พรีเมี่ยม - สุดยอดบาล์มทานวดรักษาอาการปวดข้อ ปวดเข่า ปวดกระดูก กล้ามเนื้ออักเสบ ปวดเส้นเอ็น ปวดหลัง ปวดเอว ปวดต้นคอ มือเท้าชา มือล็อค ไหล่ติด เส้นยึด ตาลาย สลายลิ่มเลือด  ขับลมออกจากเส้น อัมพฤกษ์ เหน็บชา ตะคริว เก๊าท์ รูมาตอยด์ กระดูกทับเส้น

Thursday, May 23, 2019

โรค MPS ปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด มีสาเหตุมาจากอย่างนี้

โรค MPS ปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด มีสาเหตุมาจากอย่างนี้


เมื่อมีการใช้งานกล้ามเนื้ออย่างหนัก หรือ กล้ามเนื้อได้รับบาดเจ็บ อาจทำให้มีการก่อตัวของเนื้อเยื่อพังผืด หรือ จุดกดเจ็บ โดยจุดกดเจ็บนี้ สามารถทำให้เกิดอาการปวดและตึงได้ หากอาการดังกล่าวนี้ เป็นอย่างต่อเนื่อง ไม่ยอมหาย และมีอาการปวดมากขึ้น จะเรียกภาวะนี้ว่า อาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial Pain Syndrome) หรือ โรค MPS

สาเหตุการเกิดโรค MPS ปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด ยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่พบว่าอาจมีปัจจัยเสี่ยง ที่ไปกระตุ้นให้เกิดอาการ ดังนี้
  1. กล้ามเนื้อได้รับบาดเจ็บ โดยอาจได้รับบาดเจ็บอย่างกระทันหัน หรือ กล้ามเนื้อเกิดความตึงเครียดอย่างต่อเนื่อง จนทำให้เกิดจุดกดเจ็บได้ เช่น จุดภายในกล้ามเนื้อ หรือ บริเวณใกล้กันกับกล้ามเนื้อที่ตึง อาจกลายเป็นจุดกดเจ็บ การเคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ และการจัดท่าทางร่างกายที่ไม่ถูกต้อง เป็นต้น
  2. ความเครียดและความวิตกกังวล ผู้ที่มีความเครียดและความวิตกกังวลบ่อยๆ อาจเสี่ยงเกิดจุดกดเจ็บได้มากขึ้น เพราะคนเหล่านี้ มักจะมีการเกร็งกล้ามเนื้อซ้ำๆ จนเกิดจุดกดเจ็บ

เมื่อมีอาการปวด กดเจ็บที่กล้ามเนื้อ อาการไม่ทุเลาลง แม้จะดูแลตัวเองในเบื้องต้นแล้วก็ตาม รีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษา จะได้ไม่ต้องทนอยู่กับอาการปวด 



ปวดเมื่อย
หมอนรองกระดูกเสื่อม
คชาบาล์ม พรีเมี่ยม : สุดยอดสมุนไพรทานวด ตำรับเก่าแก่กว่า 50 ปี ผลิตจากสมุนไพรเกรดพรีเมี่ยม เป็นสมุนไพรไทยโบราณและหายาก 10 กว่าชนิด ตัวยาสกัดเข้มข้น ซึมลึกเข้าถึงจุด หยุดปวดทันใจ รักษาอาการปวด ปวดข้อ-เข่า ปวดหลัง ปวดเอว ปวดต้นคอ มือเท้าชา มือล็อค ไหล่ติด เส้นยึด ตาลาย ตะคริว

Wednesday, May 22, 2019

ประสาทมือชาหมอวินิจฉัยอย่างนี้

ประสาทมือชาหมอวินิจฉัยอย่างนี้


ประสาทมือชา เป็นอาการเจ็บ ชา และเป็นเหน็บ บริเวณมือกับแขน เป็นภาวะที่เส้นประสาทมีเดียน ซึ่งเป็นเส้นประสาทหลักของมือ ถูกบีบอัด หรือ กดทับ อยู่ภายในข้อมือ เป็นความผิดปกติของโครงสร้างมือ หรือ การใช้งานมืออย่างไม่เหมาะสม ส่วนใหญ่อาการจะค่อยเป็นค่อยไป ผู้ป่วยมักต้องรักษาด้วยการใส่เฝือก ใช้ยา หรือ หลีกเลี่ยงกิจกรรมบางประเภท ที่ทำให้เส้นประสาทมือเสียหาย และอาจต้องเข้ารับการฝ่าตัด หากมีอาการรุนแรง
เมื่อผู้ป่วยเข้าพบแพทย์ แพทย์มักวินิจฉัยหาสาเหตุอาการประสาทมือชา จากการซักประวัติผู้ป่วย ร่วมกับการตรวจร่างกาย และอาจตรวจด้วยวิธีอื่นๆ ตามดุลยพินิจของแพทย์ ดังต่อไปนี้
1. การตรวจมือ
  • แพทย์จะตรวจสอบอาการชา หรือ เหน็บ จากเส้นประสาทมีเดียนถูกกดทับ ซึ่งทำได้โดย การเคาะข้อมือ ซึ่งเป็นตำแหน่งของเส้นประสาทมีเดียน หรือดัดข้อมือเพื่อทำให้เส้นประสาทมีเดียนตึงมากขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยแสดงอาการผิดปกติที่ชัดเจนมากขึ้น
  • ทดสอบความไวต่อความรู้สึกบริเวณปลายนิ้วมือเมื่อถูกสัมผัสอย่างแผ่วเบา
  • ตรวจดูภาวะอ่อนแรง และการฝ่อ ของกล้ามเนื้อบริเวณฐานนิ้วโป้ง

2. การตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้า
  • แพทย์จะทำการวัดความเร็วของกระแสประสาท เพื่อดูประสิทธิภาพของ การนำกระแสประสาท บริเวณมือกับแขน
  • ตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ เพื่อตรวจหาความเสียหายของเส้นประสาทกับกล้ามเนื้อ ซึ่งมักใช้ตรวจในกรณีที่ต้องการวินิจฉัยให้แน่ชัดขึ้นเท่านั้น

3. การตรวจด้วยรังสีวิทยา
  • เอกซเรย์ เพื่อดูโครงสร้างของมือด้วยการฉายภาพรังสี ซึ่งช่วยคัดกรองอาการประสาทมือชา จากโรคอื่นๆ เช่น ข้ออักเสบ กระดูกหัก และเอ็นยึดบาดเจ็บ
  • อัลตราซาวด์ ใช้คลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อวิเคราะห์การบีบอัดของเส้นประสาทมีเดียน
  • การสแกนด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เอ็มอาร์ไอ เพื่อดูเนื้อเยื่อบริเวณเส้นประสาทมีเดียนที่ผิดปกติ เช่น เนื้องอกบริเวณข้อมือ หรือ แผลเป็นจากการบาดเจ็บ

ถ้าไม่อยากเสียเงินเสียทองในการรักษาอาการมือชา ก็ควรป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงของโรค ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ใช้งานมือและข้อมือด้วยความระมัดระวัง ทนุถนอมและใส่ใจมือและข้อมือให้มากขึ้น




คชาบาล์ม พรีเมี่ยม : สุดยอดสมุนไพรทานวด ตำรับเก่าแก่ 50 กว่าปี ผลิตจากสมุนไพรเกรดพรีเมี่ยม เป็นสมุนไพรไทยโบราณและหายาก 10 กว่าชนิด ตัวยาสกัดเข้มข้น ซึมลึกเข้าถึงจุด หยุดปวดทันใจ รักษาอาการปวด กระดูก ข้อ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น อย่างได้ผลดี ไม่ว่าจะเป็น ปวดข้อ-เข่า ปวดหลัง ปวดเอว ปวดต้นคอ มือเท้าชา มือล็อค ไหล่ติด เส้นยึด ตาลาย ตะคริว

ข้อเสื่อมมีสาเหตุจากแบบนี้

ข้อเสื่อมมีสาเหตุจากแบบนี้


ข้อเสื่อม (Osteoarthritis) เป็นอาการเสื่อมสภาพของกระดูกอ่อน (Cartilage) ในข้อต่อกระดูก ซึ่งเกิดจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น อายุมากขึ้น มีการใช้งานข้อต่อซ้าๆ เป็นเวลานานๆ เป็นต้น การเสื่อมสภาพของกระดูกอ่อน จะส่งผลให้กระดูกเสียดสีกัน หรือ เกิดแรงกดมากขึ้น จนทำให้รู้สึกเจ็บบริเวณข้อต่อ และขยับข้อต่อได้ลำบาก หากไม่รีบรักษา อาการอาจรุนแรงขึ้น หรือ เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ โดยทั่วไปแล้ว ข้อเสื่อมมักเกิดกับข้อเข่า ข้อนิ้วมือ สะโพก กระดูกสันหลัง และเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยเฉพาะผู้สูงวัยที่มีอายุมากกว่า 50 ปี

ข้อเสื่อมมีสาเหตุมาจาก เนื้อเยื่อระหว่างข้อต่อกระดูก หรือ กระดูกอ่อน ชำรุด บางลง และสึกหรอ ทำให้ไม่สามารถลดแรงกระแทกระหว่างกระดูกได้ดีเท่าเดิม จนเกิดอาการต่างๆ ขึ้น หากกระดูกอ่อนเสื่อมสภาพลงมาก จนทำให้กระดูกเสียดสีกันโดยตรง ผู้ป่วยอาจมีกระดูกงอกขึ้นมาตรงบริเวณข้อต่อนั้นด้วย

โดยปกติ เมื่อกระดูกอ่อนชำรุดจากการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ร่างกายจะมีกลไกซ่อมแซมและรักษาด้วยตนเอง แม้สาเหตุของข้อเสื่อมยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัด แต่ข้อเสื่อม อาจเกิดจากความผิดพลาดของกระบวนการซ่อมแซมในร่างกาย หรือ อาจเกิดจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ดังต่อไปนี้


  • อายุ ประสิทธิภาพการซ่อมแซมกระดูกข้อต่อที่สึกหรอ และการส่งเลือดไปเลี้ยงข้ออาจลดลง ตามอายุ
  • โรคอ้วน ผู้ป่วยโรคอ้วนมักมีอาการข้อเสื่อม บริเวณเข่า และสะโพก เพราะข้อต่อดังกล่าวอาจรับน้ำหนักมากเกินไป ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดความเสียหายมากขึ้น
  • เพศ ผู้หญิงมีแนวโน้มเป็นข้อเสื่อมได้มากกว่าชาย
  • พันธุกรรม ข้อเสื่อมอาจถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ได้
  • เคยได้รับบาดเจ็บ หรือ เกิดความเสียหายบริเวณข้อต่อ เช่น เคยกระดูกหักบริเวณใกล้ๆ ข้อต่อ เคยป่วยเป็นข้อต่อติดเชื้อ หรือ เคยได้รับบาดเจ็บบริเวณเอ็น ซึ่งอาจส่งผลต่อความแข็งแรงของข้อต่อ
  • ใช้งานข้อต่อหนักเกินไป อาจพบในนักกีฬา ผู้ที่ต้องยกของหนัก หรือ ผู้ที่ต้องทำงานด้วยการใช้สว่านลม

เมื่อมีอาการเจ็บปวดจากข้อเสื่อม แม้ไม่แน่ใจ สามารถไปให้แพทย์ตรวจวินิจฉัยอาการ เพื่อทำการรักษาไม่ให้ข้อเสื่อมดำเนินไปสู่ขั้นรุนแรง




คชาบาล์ม พรีเมี่ยม : สุดยอดสมุนไพรทานวด ตำรับเก่าแก่ 50 กว่าปี ผลิตจากสมุนไพรเกรดพรีเมี่ยม เป็นสมุนไพรไทยโบราณและหายาก 10 กว่าชนิด ตัวยาสกัดเข้มข้น ซึมลึกเข้าถึงจุด หยุดปวดทันใจ รักษาอาการปวด ข้อ กระดูก กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น อย่างได้ผลดี ไม่ว่าจะเป็น ปวดข้อ ปวดเข่า ปวดหลัง ปวดเอว ปวดต้นคอ มือเท้าชา มือล็อค ไหล่ติด เส้นยึด ตาลาย ตะคริว

Thursday, May 16, 2019

นิ้วเท้าล็อคมีวิธีผ่าตัดแบบนี้

นิ้วเท้าล็อคมีวิธีผ่าตัดแบบนี้


เมื่อมีอาการนิ้วล็อคในระยะที่ 4 คือมีอาการนิ้วล็อคอย่างรุนแรง มีการอักเสบบวมมาก จนนิ้วติดอยู่ในท่างอ ไม่สามารถเหยียดให้ตรงได้ ถึงแม้ว่าจะใช้มือช่วยเหยียดก็ตาม ผ่านการฉีดยาสเตียรอยด์ซ้ำๆ แล้วแต่อาการไม่ดีขึ้น หรืออาการไม่หายขาด แพทย์อาจแนะนำให้รักษาด้วยวิธีการผ่าตัด


การรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด ในปัจจุบันจะมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ

  1. การผ่าตัดแบบเปิด  เป็นวิธีมาตรฐาน มีแผลผ่าตัด โดยแพทย์จะฉีดยาชาเฉพาะที่ ผ่ากรีดผิวหนังประมาณ 1.5 เซนติเมตร และใช้มีดตัดปลอกหุ้มเอ็น ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคนิ้วล็อค เสร็จแล้วกลับบ้านได้ แต่หลังผ่าตัดต้องหลีกเลียงการใช้งานหนักและการสัมผัสแผล ประมาณ 2 สัปดาห์
  2. การผ่าตัดแบบปิด จะเป็นการผ่าตัดโดยใช้เข็ม หรือ มีด เขี่ย หรือ สะกิด ปลอกหุ้มเอ็นออก ทำผ่านผิวหนัง ปัจจุบันมีมีดที่มีลักษณะปลายเล็ก ขนาดปลายประมาณ 2 มิลลิเมตร มีปลายมน ลดการบาดเจ็บ หรือกระทบกระเทือนต่ออวัยวะส่วนอื่น และแทบไม่มีแผลให้เห็น แต่โอกาสเสี่ยงทำอันตรายต่อเส้นเอ็นและเส้นประสาทที่อยู่บริเวณข้างเคียงก็ยังมี ซึ่งถ้าเส้นประสาทเกิดความเสียหาย จะทำให้มีอาการข้อนิ้วติดแข็ง ปวดแผลเวลาขยับนิ้วมือ และมีอาการชาปลายนิ้วได้


การผ่าตัดนิ้วล็อคแบบปิด เจาะผ่านผิวหนัง มีข้อดี คือ



  • ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล
  • เจาะแผลขนาดเล็ก (ประมาณ 2-3 มิลลิเมตร)
  • ไม่ต้องเย็บแผล
  • ไม่ต้องตัดไหม
  • ไม่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บของเส้นเอ็นโดยรอบ
  • มือที่ผ่าตัดสามารถใช้งานได้ทันที
  • ใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ
  • ลดเวลาการกินยาแก้ปวดและยาฆ่าเชื้อ
  • ลดอาการปวดจากแผลผ่าตัด




คชาบาล์มรักษานิ้วล็อค : สุดยอดสมุนไพรทานวด ตำรับเก่าแก่ 50 กว่าปี ผลิตจากสมุนไพรเกรดพรีเมี่ยม เป็นสมุนไพรไทยโบราณและหายาก 10 กว่าชนิด ตัวยาสกัดเข้มข้น ช่วยคลายเส้นเอ็น หยุดปวด แก้ไขอาการนิ้วล็อคให้หายได้ทันใจ

โรคอัมพฤกษ์ครึ่งซีก

Friday, May 10, 2019

โรคอัมพฤกษ์ครึ่งซีกป้องกันได้ด้วยวิธีนี้


โรคอัมพฤกษ์ครึ่งซีก เป็นโรคในตระกูลของอัมพฤกษ์อัมพาต เป็นอาการที่เกิดขึ้นแบบฉับพลัน จากที่เป็นคนปกติ อยู่ดีๆ ขาก็ขยับไม่ได้ หรือ ไม่สามารถก้าวเดินได้ มีอาการชาตามแขนขา ตามัว ปากเบี้ยวในทันที
เราสามารถป้องกันโรคนี้ได้ ด้วยการดูแลตัวเองอย่างสม่ำเสมอ เมื่อเกิดโรคขึ้นสามารถรักษาให้หายได้ แต่ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของตัวคนไข้และอาการของโรค ว่ามีความรุนแรงมากน้อยเพียงใด เพราะฉะนั้น หากพบว่าตัวเอง หรือ คนรอบข้าง มีสัญญาณเตือนของโรค ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อจะได้เป็นวิธีป้องกันไม่ให้เกิดโรคนี้ขึ้นได้อีกวิธีหนึ่ง
เนื่องจากสาเหตุของโรคนี้ เกิดจากการเสื่อมของหลอดเลือดแดงเป็นสำคัญ การป้องกันจึงทำได้ด้วยการหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้หลอดเลือดแดงเสื่อม ดังต่อไปนี้
  • ควบคุมความดันโลหิตและระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • ควรงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และ งดสูบบุหรี่
  • ไม่ควรทานอาหารที่มีไขมันสูง ควรทานอาหารให้ถูกต้องตามโภชนาการ โดยเฉพาะผักและผลไม้ 
  • หากเป็นโรคเบาหวาน ควรมีการรักษาอย่างเคร่งครัด และควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูงจนเกินไป
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ และ พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกาย

เมื่อได้ดูแลร่างกายตามที่กล่าวมาข้างต้น ก็จะช่วยลดความเสี่ยงจากการเป็นอัมพฤกษ์ครึ่งซีกได้



คชาบาล์ม พรีเมี่ยม : สุดยอดบาล์มทานวดรักษาปวด ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ คลายเส้น คลายกล้ามเนื้อ กระดูกทับเส้น ปวดข้อ ปวดเข่า ปวดหลัง ปวดเอว ปวดต้นคอ อัมพฤกษ์ อัมพาต มือเท้าชา

Monday, May 6, 2019

โรคกระดูกสันหลังเคลื่อนมีอาการอย่างนี้

โรคกระดูกสันหลังเคลื่อนมีอาการอย่างนี้


โรคกระดูกสันหลังเคลื่อน เกิดขึ้นเมื่อ กระดูกสันหลังระดับเอว ข้อที่อยู่เหนือข้อต่อปล้องกระดูกสันหลังชิ้นล่าง เคลื่อนไปด้านหน้า ในบางกรณี อาจเกิดการกดทับของเส้นประสาทร่วมด้วย ทำให้ปวดหลัง ชา อ่อนแรง ที่ขาข้างใดข้างหนึ่ง หรือ ทั้งสองข้าง หากได้รับการรักษาทันท่วงที จะช่วยบรรเทาอาการปวดได้

อาการของโรคกระดูกสันหลังเคลื่อน

ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหลังช่วงล่าง เมื่อออกกำลังกายเสร็จแล้วจะปวดรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะเมื่อผู้ป่วยทำการบริหารกระดูกบั้นเอว ซึ่งความรุนแรงของอาการก็จะต่างกันออกไป และอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย ได้แก่
  • กระดูกสันหลังโค้งมากเกินไป
  • ปวดหรือชาบริเวณขา ต้นขา และสะโพก
  • รู้สึกตึงที่กล้ามเนื้อขาด้านหลัง
  • กลั้นปัสสาวะอุจจาระไม่ได้ เพราะเส้นประสาทถูกกดทับ อย่างรุนแรง
หากสังเกตเห็นว่ากระดูกสันหลังโค้งมากผิดปกติ มีอาการปวดบริเวณหลัง หรือ สะโพกเป็นประจำ หรือ มีอาการดังที่กล่าวมาข้างต้น ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยโดยเร็ว

โรคกล้ามเนื้อหนีบเส้นประสาท
คชาบาล์ม พรีเมี่ยม - สุดยอดบาล์มทานวดรักษาปวด ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ คลายเส้น คลายกล้ามเนื้อ กระดูกทับเส้น ปวดข้อ ปวดเข่า ปวดหลัง ปวดเอว ปวดต้นคอ มือเท้าชา

ปวดเมื่อยมีสาเหตุมาจากอย่างนี้

ปวดเมื่อยมีสาเหตุมาจากอย่างนี้


อาการปวดเมื่อย อาจเกิดจากการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ลักษณะของการใช้ชีวิต การรักษาทางการแพทย์ หรือ อาจเกิดจาก ปัญหาสุขภาพการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ดังต่อไปนี้


จากการใช้ชีวิต หรือการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน

  • นอนน้อย พักผ่อนไม่เพียงพอ
  • ทำกิจกรรมที่ต้องออกแรงอย่างหนัก เช่น ยกของหนัก ลากของหนัก ออกกำลังกายอย่างหนัก เป็นเวลานานๆ
  • น้ำหนักเกิน หรือ อยู่ในภาวะอ้วน
  • ขาดการออกกำลังกาย หรือ ขาดการทำกิจกรรมที่เพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อร่างกาย
  • รับประทานอาหารที่ไม่ถูกสุขอนามัย
  • อยู่ในช่วงมีประจำเดือน ซึ่งมีสภาวะทางอารมณ์ไม่คงที่
  • การเดินทางข้ามเขตเวลาโลก (Jet lag)
  • ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ หรือการใช้ยาเสพติด
  • บริโภคคาเฟอีนจาก ชา หรือ กาแฟ มากจนเกินไป


จากการใช้ยาและการรักษาทางการแพทย์

  • การใช้ยาที่ทำให้เกิดผลข้างเคียง เป็นอาการเมื่อยล้าหมดแรง เช่น ยาแก้ปวด ยาแก้ไอ ยาต้านฮิสตามีน ยาขับปัสสาวะ ยารักษาความดันโลหิต ยาสเตียรอยด์ ยารักษาโรคหัวใจ ยาต้านเศร้า ยาคลายกังวล ยานอนหลับ เป็นต้น
  • การบำบัดรักษาโรค เช่น รังสีบำบัด เคมีบำบัด



จากการเจ็บป่วยด้วยโรคและปัญหาสุขภาพทางร่างกาย

  • ภาวะขาดธาตุเหล็ก
  • โรคเบาหวาน
  • โรคโลหิตจาง
  • ป่วยด้วยโรคหวัด หรือไข้หวัดใหญ่
  • โรคปวดกล้ามเนื้อ หรือ มีอาการเจ็บปวดบริเวณใดบริเวณหนึ่งอย่างเรื้อรัง
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการนอน เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ นอนไม่หลับ โรคลมหลับ
  • ภาวะข้ออักเสบ หรือ ข้ออักเสบรูมาตอยด์
  • ต่อมไทรอยด์ทำงานมากกว่า หรือน้อยกว่าปกติ
  • โรคแอดดิสัน (Addison Disease) ที่ต่อมหมวกไตทำงานได้น้อยกว่าปกติ
  • โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง
  • ความผิดปกติเกี่ยวกับการกิน เช่น โรคคลั่งผอมหรือโรคกลัวอ้วน (Anorexia Nervosa) ทำให้ผู้ป่วยอดอาหาร
  • โรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง เช่น โรคพุ่มพวง (Lupus)
  • เจ็บป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับตับหรือไต เช่น โรคไตเรื้อรัง ตับวายเฉียบพลัน
  • ภาวะติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อจากโรคไวรัสตับอักเสบ ปรสิต วัณโรค การติดเชื้อเอชไอวี
  • ป่วยด้วยโรคถุงลมโป่งพอง หรือ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ซึ่งมักเกิดจากการสูบบุหรี่อย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลานาน
  • โรคทางเส้นประสาท เช่น โรคปลอกประสาทอักเสบ เส้นประสาทส่วยปลายถูกกด 
  • โรคมะเร็งต่าง ๆ
  • ศีรษะกระแทก สมองถูกกระทบกระเทือน หรือได้รับบาดเจ็บ
  • โรคหัวใจ เช่น ภาวะเยื่อบุหัวใจอักเสบติดเชื้อแบคทีเรีย ภาวะหัวใจล้มเหลว 
  • กลุ่มอาการล้าเรื้อรัง (Chronic Fatigue Syndrome) ซึ่งเป็นอาการเมื่อยล้าอย่างต่อเนื่อง และยาวนานกว่า 6 เดือน


จากการเจ็บป่วยด้วยปัญหาสุขภาพทางจิตใจ

  • มีความเครียด ความวิตกกังวล 
  • เกิดความเบื่อหน่าย
  • ภาวะซึมเศร้า หรือ เผชิญกับความเศร้าโศกเสียใจอย่างหนัก
  • โรคทางอารมณ์ที่เกี่ยวข้องกับฤดูกาล ผู้ป่วยจะมีอารมณ์ซึมเศร้า หดหู่ ไม่มีแรง เฉพาะในช่วงฤดูกาลนั้นของทุกปี และจะมีอาการดีขึ้นเมื่อฤดูกาลนั้นผ่านพ้นไป ผู้ป่วยแต่ละคนจะมีอาการป่วยในช่วงฤดูที่แตกต่างกัน โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยโรคนี้ มักมีอาการในช่วงฤดูหนาว


หากมีอาการเมื่อยล้านานกว่า 2 สัปดาห์ หรือเริ่มเป็นเรื้อรัง โดยที่อาการไม่ดีขึ้น แม้จะได้รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ และผ่อนคลายความตึงเครียดไปแล้วก็ตาม ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อให้แพทย์ทำการตรวจวินิจฉัยและรักษา


คชาบาล์ม สมุนไพรแก้ปวดเมื่อย
โรคกระดูกสันหลังเคลื่อน