Tuesday, April 30, 2019

เอ็นอักเสบ ปล่อยไว้ไม่รักษา เอ็นฉีกขาดได้

เอ็นอักเสบ ปล่อยไว้ไม่รักษา เอ็นฉีกขาดได้

เอ็นอักเสบ เป็นอาการปวดบวมเจ็บของเอ็นกล้ามเนื้อ ซึ่งมีลักษณะเป็นแถบเนื้อเยื่อพังผืดที่ยืดหยุ่นได้ ติดอยู่ตามแนวกระดูก ทำหน้าที่เชื่อมต่อกล้ามเนื้อและกระดูกเข้าไว้ด้วยกัน ช่วยในการเคลื่อนไหวของกระดูกและข้อต่อ

หากเป็นเอ็นอักเสบแล้วไม่ได้รับการดูแลรักษา ทั้งการดูแลเบื้องต้นด้วยตนเอง และการพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการเอ็นอักเสบ ปล่อยทิ้งไว้ จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการฉีกขาดของเอ็นกล้ามเนื้อ ซึ่งเป็นภาวะที่รุนแรงกว่ามาก จนอาจถึงขั้นที่แพทย์พิจารณาผ่าตัด หรือ หากอาการอักเสบของเอ็นกล้ามเนื้อคงอยู่ เป็นเวลาหลายอาทิตย์ หรือหลายเดือน ก็อาจนำไปสู่ ภาวะเอ็นอักเสบเรื้อรัง โดยจะส่งผลให้เกิดความเสื่อมสภาพ ภายในเอ็นกล้ามเนื้อนั้น เกิดข้อติด และเกิดการเติบโตของหลอดเลือด ที่ผิดปกติขึ้นได้

สำหรับผู้ที่มีอาการเอ็นอักเสบที่ยังไม่รุนแรง และไม่อยากกินยาแก้อักเสบ สามารถดูแลได้ด้วยตนเองด้วยสมุนไพรคชาบาล์ม ยาสมุนไพรทาแก้ปวด ซึ่งเป็นตำรับรักษาปวด 50 ปี อุดมด้วยตัวยาสมุนไพรสรรพคุณชั้นเลิศถึง 10 กว่าชนิด สกัดเข้มข้น อยู่ในรูปบาล์ม หรือ ขี้ผึ้ง ใช้ทาบริเวณเส้นเอ็นที่อักเสบ ลูบเบาๆ ให้ตัวยาซึมซาบเข้าสู่ภายใน ตัวยาจะเข้าจัดการอาการปวด อาการปวดจะลดลง หายจากการอักเสบ จนกลับเป็นปกติ ผู้ใช้ส่วนใหญ่พึงพอใจ ว่าหายปวดทันใจ หายปวดชะงัด

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท



พออายุมากขึ้น เมือกใสๆ ในหมอนรองกระดูกก็เริ่มเสื่อมสภาพ พอไปยกของหนักเข้า หรือยกผิดท่า ก็เกิดเป็นหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท จะรู้สึกปวดบริเวณคอ หลัง อก เอว หลังช่วงล่าง หรือ บริเวณไหล่ที่เชื่อมกับคอ ปวดแบบจี๊ดๆ เหมือนไฟฟ้าช็อต จนสะดุ้งเบาๆ จะปวดแบบเป็นๆ หายๆ เกิน 2 สัปดาห์ เรียก ปวดหลังเรื้อรัง อาจจะมีอาการปวดไปทั่วหลัง หรือปวดมากตรงบั้นเอว หลังช่วงล่าง ลงขา จะปวดแบบขยับก็ปวด นอนก็ปวด ปวดทรมาน

หลายคนเข้าหาหมอรักษา หมอก็จะจ่ายยามาให้กิน ถ้ายังไม่ดีขึ้น หมอจะส่งตรวจ MRI หรือ CT Scan เพื่อวินิจฉัยแนวทางรักษาต่อไป ซึ่งได้แก่ การผ่าตัด

หากหันเข้าหาแนวทางธรรมชาติ จำพวกสมุนไพร ปัจจุบันมีสมุนไพรที่ช่วยบำบัดรักษาอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นได้อย่างไม่แพ้แพทย์แผนปัจจุบัน ด้วยตัวยา สมุนไพรตำรับรักษาอาการปวด เป็นสารสกัดจากสมุนไพรธรรมชาติ 100% เข้มข้น ใช้ทานวด ตัวยาจะซึมเข้าถึงจุดที่มีอาการ และเข้ารักษา ผู้ใช้ส่วนใหญ่พอใจผลลัพธ์ นอกจากจะรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นแล้ว อาการเอ็นอักเสบก็รักษาได้ผลดี

วัยสูงอายุปวด

วัยสูงอายุปวด


วัยสูงอายุเริ่มเมื่อไหร่ ถ้าผู้หญิงก็ช่วงวัยทองเป็นต้นไป ผู้ชายก็อาจตามมาติดๆ พอเข้าสู่วัยนี้ อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดา เพราะหลายๆ ระบบในร่างกายกำลังเสื่อมถอยลง ทำงานได้ไม่ดีเท่าเดิม อาการปวดที่พบมาก ได้แก่ อาการปวดตามตัว ปวดต้นคอ ปวดหลัง ปวดไหล่ ปวดขา ปวดเอว และปวดหัวเข่า ซึ่งแต่ละคนจะมีวิธีแก้ปัญหาต่างกันไป บางคนหาหมอคลินิก โรงพยาบาล ทำกายภาพ กินยาแก้อักเสบ ซึ่งเสี่ยงไตเสื่อม บางคนพึ่งพาอาหารเสริมจากต่างประเทศที่มีราคาแพง เพราะเห็นดาราทานแล้วดี แข็งแรง ก็อยากมีสุขภาพแข็งแรงเหมือนดารา เป็นทางเลือกที่อาจจะดีก็ได้แต่ใช้เงินมาก

แต่ถ้าบอกว่าสมุนไพรไทยเราก็ดีไม่แพ้อาหารเสริมฝรั่ง เพียงใช้ทาภายนอกก็ช่วยบรรเทาอาการปวด เป็นตำรับรักษาปวดเก่าแก่ 50 ปี ที่ใช้รักษาปวดโดยเฉพาะ การผลิตได้มาตรฐานสากล สกัดเอาสารบริสุทธิ์ตัวยาจากสมุนไพรไทยโบราณและหายาก 10 กว่าชนิด อาทิเช่น กระชายดำ ดีปลี โกฐกระดูก ขิง ฮ่อสะพายควาย เป็นต้น ตัวยาซึมลึกเข้าถึงจุดปวด และสามารถหยุดปวดได้ทันใจ ราคาถ้าเทียบกับอาหารเสริมจากต่างประเทศแล้วถูกกว่ามากกก

สมุนไพรที่กล่าวมานี้คือ คชาบาล์ม คุณจะลองใช้ไหม มีแต่ข้อดีทั้งนั้นเลย ยังมองไม่เห็นอะไรที่ไม่ดีเลย

Tuesday, April 23, 2019

ปวดต้นคอหาหมอ หมอแนะนำอย่างนี้

ปวดต้นคอหาหมอ หมอแนะนำอย่างนี้


เมื่อเกิดอาการปวดเมื่อยตามบริเวณต้นคอและสะบักทั้ง 2 ข้าง มีอาการปวดต้นคอร้าวลงแขนเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งอาจมีอาการชา และอ่อนแรงของแขนร่วมด้วย ตัดสินใจพบแพทย์ แพทย์ก็จะซักประวัติเพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุ และให้คำแนะนำดังนี้

1. ปรับเปลี่ยนท่าทางและการใช้ชีวิตประจำวัน

หลีกเลี่ยงการก้มคอใช้โทรศัพท์มือถือ และไม่ใช้มือถือนานๆ การนั่งอ่านหนังสือนานๆ การแหงนศีรษะ ควรปรับตำแหน่งของจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับสายตาเสมอ ควร เปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ ควรนั่งดูโทรทัศน์แทนการนอนดู เมื่อสูงวัยแล้ว ไม่ควรเล่นแบดมินตัน เพราะเป็นกีฬาที่ต้องแหงนศีรษะเวลาตีลูก ซึ่งการแหงนศีรษะนี้ ทำให้ช่องทางเดินประสาทแคบลง เกิดการกดทับเส้นประสาทเพิ่มมากขึ้น และเกิดการอักเสบของกระดูกสันหลังบริเวณข้อต่อ เมื่อปวดต้นคอ เช่นเดียวกับการนอนบนเตียงสระผม ซึ่งต้องแหงนศีรษะ ก็จะทำให้ช่องทางเดินประสาทแคบลง เกิดการกดทับเส้นประสาทเพิ่มมากขึ้น เช่นกัน จึงควรหลีกเลี่ยงการนอนลักษณะนี้

2. แพทย์แนะนำการทำกายภาพบำบัดด้วยการดึงคอ

ด้วยการใช้แรงดึงกระทำต่อร่างกาย และ กระดูกสันหลังส่วนคอ จะช่วยทำให้ช่องระหว่างกระดูกสันหลัง ส่วนบริเวณคอ กว้างขึ้น ลดการกดทับเส้นประสาท ช่วยในการยืดกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ

3. การรับประทานยาลดปวด ยาลดการอักเสบ

การกินยาแก้อักเสบ ก็จะช่วยทำให้อาการปวด อาการชาทุเลาลงได้ แต่มีข้อควรระวัง คือ ไม่ควรรับประทานต่อเนื่องนานเกิน 1 เดือน และ ต้องรับประทานยาหลังอาหารทันที เพราะอาจจะมีผลทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร

4. การฉีดยาชาระงับปวดเข้าไประหว่างชั้นกล้ามเนื้อ 

จะช่วยให้ กล้ามเนื้อตรงบริเวณคอ และบริเวณบ่า และกล้ามเนื้อรอบๆ สะบัก คลายตัวลง ลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ แพทย์จะฉีดเข้าไปตรงบริเวณที่อยู่ของเส้นประสาท ที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อที่มีอาการเกร็งตัว เพื่อลดการนำสื่อประสาท จะช่วยลดอาการปวดได้ดีมากโดยเฉพาะในช่วงระยะ 2 สัปดาห์หลังการฉีด




คชาบาล์ม พรีเมี่ยม : สุดยอดบาล์มทานวด แก้ปวด ต้นคอ บ่า ไหล่ ปวดข้อ ปวดเข่า ปวดหลัง ปวดเอว ปวดเอ็น ข้อมืออักเสบ นิ้วล็อค ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

Monday, April 22, 2019

รู้ทันโรคออฟฟิศซินโดรม

รู้ทันโรคออฟฟิศซินโดรม


ออฟฟิศซินโดรม ไม่ใช่โรค แต่เป็นภาวะที่เกิดจากการนั่งทำงาน ในท่าทางอิริยาบถที่ผิดลักษณะ เป็นเวลานานๆ หลายชั่วโมง ทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อเกร็งและปวดเมื่อยตาม หลัง คอ บ่า ไหล่ แขน ข้อมือ แล้วยังมีสาเหตุอื่นอีก ได้แก่่ การใช้อุปกรณ์ในการทำงานที่ไม่เหมาะสมกับสรีระร่างกาย พักผ่อนน้อย มีภาวะเครียด ยิ่งพวกบ้างาน ยิ่งมีความเสี่ยงสูงที่จะมีอาการทางออฟฟิศซินโดรม ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ยิ่งเพิ่มความเครียดให้ร่างกาย สะสม และเรื้อรังขึ้น 

ดังนั้น ชาวออฟฟิศต้องหมั่นสังเกตตัวเองให้ดี และรีบรักษาเสียตั้งแต่เนิ่นๆ ความรุนแรงของออฟฟิศซินโดรม สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ


  • ระดับที่ 1 : อาการเกิดเมื่อเราทำงานไปได้ระยะหนึ่ง แต่ค่อยๆ ดีขึ้นเมื่อได้พัก
  • ระดับที่ 2 : อาการเกิดขึ้นตลอดการทำงาน พักผ่อนแล้วดีขึ้น แต่ยังไม่หายขาด
  • ระดับที่ 3 : อาการรุนแรง นั่งทำงานได้ไม่นาน พักผ่อนแล้วยังปวด ไม่ทุเลา

แนวทางการรักษาขึ้นกับระดับความรุนแรงของโรค มีตั้งแต่การยืดกล้ามเนื้อ ลุกเดินเปลี่ยนอิริยาบถ ปรับท่านั่ง 
และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พักผ่อนให้เพียงพอ ไปจนถึงการพบแพทย์เพื่อรักษาในระยะยาว 


แม้จะเป็นภาวะเรื้อรัง แต่ออฟฟิศซินโดรมสามารถหลีกเลี่ยงได้ง่าย ๆ เพียงแค่ปรับ-เปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน และการใช้ชีวิตก็ช่วยได้ ขอแนะนำวิธีเหล่านี้


1. เปลี่ยนสภาพที่ทำงาน


เริ่มจากการปรับท่านั่ง ไม่นั่งไหล่ห่อ หลังค่อม คอตก หรือ เอนพิงพนักในท่าแทบจะไหลลงไปกับพื้น ปรับระดับโต๊ะทำงานให้ได้ระดับสูงพอเหมาะ ทั้งจอภาพ เม้าส์ คีย์บอร์ด ให้มีองศาที่เหมาะสมตามสรีระ และที่สำคัญมากก็คือ การหยุดพักทุก 20-30 นาที เพื่อปรับเปลี่ยนอิริยาบถ เพื่อยืดกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ พร้อมผ่อนคลาย ด้วยการละสายตาจากหน้าจอ มองวิวต้นไม้ใบไม้สีเขียว ก็จะช่วยบรรเทาอาการปวดตาได้



2. เพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ 


หาเวลาไปออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอ หาท่าบริหารเพื่อจัดโครงสร้างและยืดหยุ่นร่างกาย บริหารตั้งแต่ ต้นคอ บ่า ไหล่ สะบัก หน้าอก ขา น่อง และหลัง ทำสม่ำเสมอ นอกจากจะได้ยืดเส้นยืดสายแล้ว ยังลดอาการปวดเมื่อย แบบไม่ต้องพึ่งหมออีกด้วย



3. ทานอาหารที่บำรุงกล้ามเนื้อ

  • จำพวกเนื้อสัตว์ อุดมไปด้วยโปรตีน ได้แก่ เนื้อไก่ เนื้อวัว หรือ เนื้อปลา จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
  • ลูกเดือย เป็นธัญพืชที่อุดมไปด้วยวิตามินบี1 บรรเทาความตึงเครียด ช่วยบำรุงระบบประสาท ทำให้ไม่เป็นโรคเหน็บชา อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หรือ แขนขาไม่มีแรง
  • ข้าวโพด อุดมไปด้วยเบตาแคโรทีน ช่วยบำรุงสายตา ลดอัตราเสื่อมของลูกตา และคลายความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อตา เมื่อต้องจ้องจอคอมพิวเตอร์นาน


ออฟฟิศซินโดรม ไม่ใช่โรคร้ายที่แก้ไม่ได้ เพียงแค่เราใส่ใจร่างกาย ใช้ชีวิตอย่างเข้าใจ แม้งานหนัก หากว่ารู้วิธีหลีกเลี่ยงและป้องกัน ออฟฟิศซินโดรมก็ทำอะไรเราไม่ได้ 

Sunday, April 21, 2019

โรคหลอดเลือดสมองมีวิธีป้องกันได้

โรคหลอดเลือดสมองมีวิธีป้องกันได้


โรคหลอดเลือดสมองซึ่งสามารถนำไปสู่การเป็นอัมพฤกษ์อัมพาต แต่เราสามารถป้องกันได้ ด้วยการลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือด ซึ่งการลดความเสี่ยง ทำได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต การรับประทานอาหาร และการออกกำลังกาย ดังนี้

  1. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ จะช่วยลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองได้ โดยเฉพาะ ผัก ผลไม้ ที่มีไฟเบอร์สูง ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เพราะจะส่งผลให้เกิดภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง รวมถึง อาหารที่มีรสเค็มจัด ที่เป็นสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง
  2. ควบคุมน้ำหนัก โรคอ้วนเป็นสาเหตุของโรคร้ายแรง รวมทั้งโรคหลอดเลือดสมอง การควบคุมน้ำหนัก จะช่วยลดความเสี่ยง ลงได้
  3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สามารถช่วยควบคุมน้ำหนัก และช่วยลดระดับคอเลสเตอลรอล  รวมถึงความดันโลหิตสูงได้ ระยะเวลาในการออกกำลังกายที่เหมาะสม คือ 2.5 ชั่วโมง ต่อ สัปดาห์ สำหรับการออกกำลังกาย แบบแอโรบิก ส่วนเด็กและวัยรุ่น ควรออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมง
  4. งดสูบบุหรี่ บุหรี่เป็นปัจจัยหลัก ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง การเลิกสูบบุหรี่ จะช่วยลดความเสี่ยงลงได้ หากไม่สามารถเลิกได้ด้วยตนเอง ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาวิธีเลิกบุหรี่ อย่างมีประสิทธิภาพ
  5. ควบคุมปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ ปริมาณที่พอเหมาะของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จะช่วยลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจได้ แต่จะดีที่สุดหากไม่ดื่มเลย หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็สามารถดื่มได้ แต่ควรดื่มในปริมาณที่แนะนำ คือ ไม่ควรเกินวันละ 2 แก้วในผู้ชาย และไม่ควรเกินวันละ 1 แก้วในผู้หญิง


นอกจากนี้ ยังควรควบคุมปัจจัยเสี่ยง ที่เกี่ยวข้องกับโรคหลอดเลือดสมองโดยตรง ดังต่อไปนี้

  1. ควบคุมระดับคอเลสเตอรอล ควรตรวจวัดระดับไขมันในเลือด อย่างน้อย ทุก 6-12 เดือน หากเป็นผู้ที่มีความเสี่ยง หรือ มีภาวะคอเลสเตอรอลสูง อยู่แล้ว ควรพบแพทย์เพื่อติดตามอาการอย่างสม่ำเสมอ
  2. ควบคุมระดับความดันโลหิต ด้วยการตรวจวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยควบคุมระดับความดันโลหิต ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง
  3. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด หากผู้ป่วยมีอาการของโรคเบาหวาน แพทย์จะตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด ถ้าผลออกมาพบว่า เป็นโรคเบาหวาน ผู้ป่วยจำเป็นต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิต และพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ควรรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยควบคุมอาการได้ จะช่วยให้ความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองลดลง
  4. รักษาโรคหัวใจอย่างต่อเนื่อง หากผู้ป่วยมีอาการของโรคหัวใจอยู่แล้ว ควรเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการรับประทานยา และการผ่าตัด เพราะการรักษาที่ดี จะช่วยลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองได้
  5. พบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันความผิดปกติ ที่อาจนำไปสู่อาการโรคหลอดเลือดสมอง ควรพบแพทย์ และตรวจสุขภาพ อย่างสม่ำเสมอ







คชาบาล์ม พรีเมี่ยม – สุดยอดบาล์มทานวดรักษาปวด ปวดข้อ ปวดเข่า ปวดหลัง ปวดเอว ปวดต้นคอ มือเท้าชา อัมพฤกษ์ อัมพาต ช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น

เรื่องอื่นน่าสนใจ
หมอนรองกระดูกทับเส้น อาการรุนแรงของโรคออฟฟิศซินโดรม

Saturday, April 20, 2019

นิ้วล็อคป้องกันได้

นิ้วล็อคป้องกันได้



อาการนิ้วล็อคสามารถป้องกันได้ ด้วยการหลีกเลี่ยงปัจจัยที่เป็นสาเหตุ รวมทั้งหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่ออกแรง แล้วทำให้กล้ามเนื้อนิ้วหด หรืองออยู่นานๆ นอกจากนี้ อาการนิ้วล็อคที่เกิดจากป่วยด้วยโรคต่างๆ ก็สามารถป้องกันได้ โดยเลี่ยงความเสี่ยง ที่จะทำให้ป่วยเป็นโรคนั้น แล้วเกิดอาการนิ้วล็อค ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
1. โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ หลีกเลี่ยงได้ ด้วยการลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ หยุดสูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่เต็มไปด้วยมลพิษ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะป่วยเป็นโรคข้อรูมาตอยด์

2. โรคเกาต์ ผู้ป่วยโรคเกาต์ที่อยู่ในช่วงไม่แสดงอาการนั้น เพื่อป้องกันไม่โรคกำเริบ ควรใส่ใจเรื่องการรับประทานอาหารเป็นพิเศษ ดื่มน้ำเปล่า รับประทานอาหารโปรตีนสูง ไขมันต่ำ จำกัดปริมาณการดื่มแอลกอฮอลล์ จำกัดการรับประทานเนื้อสัตว์ ปลา และสัตว์ปีก รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

3. โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ ป้องกันโดยการทำกิจกรรม ที่ช่วยกระจายแรงกดตรงข้อมือ และช่วยให้มือและข้อมือได้เคลื่อนไหว โดยยืดข้อมือให้ตรงแล้วค่อยๆ งอเข้า หลีกเลี่ยงการงอ หรือบิดข้อมือ เป็นเวลานานๆ เมื่อต้องทำงานท่าเดิมนานๆ ควรพักมือ หรือเปลี่ยนท่า หากไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของข้อมือได้ ขณะที่หลับอาจใส่อุปกรณ์ดามข้อมือไว้ โดยเฝือกจะช่วยพยุงข้อมือ ไม่ทำให้ข้อมืองอเข้า หรือบิดออกมากเกินไป และช่วยลดแรงกดน้ำหนัก ไปที่นิ้วมือ มือ และข้อมือ




Friday, April 19, 2019

หมอรักษากระดูกทับเส้นอย่างนี้

หมอรักษากระดูกทับเส้นอย่างนี้


ส่วนใหญ่แล้ว อาการกระดูกทับเส้นจะค่อยๆ ดีขึ้น ต้ อ ง ใ ช้ เ ว ล า ฟื้ น ตั ว ป ร ะ ม า  ณ  1 - 3  เ ดื อ น  หากผู้ป่วยได้พักผ่อน ออกกำลังกาย และรับประทานยาบรรเทาอาการของโรค
วิธีรักษากระดูกทับเส้น มีอยู่ด้วยกันหลายวิธี ขึ้ น อ ยู่ กั บ  ร ะ ดั บ ค ว า ม รุ น แ ร ง ข อ ง อ  า ก า ร  และ ตำ แ ห น่ ง ที่ ห ม อ น ร อ ง ก ร ะ ดู  ก เ ค ลื่ อ น  เมื่อแพทย์ได้วินิจฉัยอาการแล้ว จะมีวิธีการรักษา ตั้งแต่เบาไปหาหนัก ดังต่อไปนี้ คือ
1. การรักษาด้วยยา ยาที่ช่วยรักษาอาการกระดูกทับเส้น ประกอบด้วย
  • ยาแก้ปวด ใช้รักษาผู้ป่วยกระดูกทับเส้น ที่มีอาการปวดหลัง เพียงเล็กน้อยถึงปานกลาง ส า ม า ร ถ ซื้ อ ย า แ ก้ ป ว ด ที่ ห า ซื้ อ รั บ ป ร ะ ท า น ไ  ด้ เ อ ง  เช่น ยาไอบูโพรเฟน หรือ ยานาพรอกเซน
  • ยาแก้ปวดชนิดเสพติด หากผู้ป่วยรับประทานยาแก้ปวดทั่วไปแล้ว อ า ก า ร ไ ม่ ทุ เ ล า ล ง  แ พ ท ย์ อ า จ สั่ ง จ่ า ย ย า แ ก้ ป ว ด ช นิ ด เ ส พ ติ ด  ให้รับประทาน ได้แก่ โคเดอีน หรือ ยาพาราเซตามอล ที่ผสมสารสังเคราะห์ออกซิโคโดน โดยแพทย์จะจ่ายยานี้ ให้ผู้ป่วยรับประทาน เป็นระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ผู้ ป่ ว ย อ า จ ไ ด้ รั บ ผ ล ข้ า ง เ คี ย ง ข อ ง ย า โดยจะมีอาการง่วง คลื่นไส้ สับสนมึนงง และ ท้องผูก
  • ยาระงับอาการปวดที่เส้นประสาท ห า ก ผู้ ป่ ว ย มี อ า ก า ร ป ว ด ร้ า ว ล ง ข า คือ รู้สึกปวดที่ขา สะโพก หรือ ก้น ซึ่งเป็นอวัยวะ ที่อยู่ตาม แนวเส้นประสาทไซอาติก แ พ ท ย์ จ ะ สั่ ง จ่ า ย ย า แ ก้ ป ว ด ที่ มี ฤ ท ธิ์ แ ร ง ขึ้ น  ได้แก่ ยาบางตัวในกลุ่มยารักษาอาการซึมเศร้า และ ยากันชัก โดยยาในกลุ่มรักษาอาการซึมเศร้า จะช่วยบรรเทา อาการปวดเส้นประสาท ให้ทุเลาลงได้ ส่วนยากันชัก ช่วยรักษาอาการปวดเส้นประสาท ที่เกี่ยวกับกระดูกทับเส้น อย่างไรก็ตาม ยาทั้งสองตัวนี้ ไ ม่ ส า ม า ร ถ ใ ช้ รั ก ษ า ผู้ ป่ ว ย ก ร ะ ดู ก ทั บ เ ส้ น ไ ด้ ทุ ก ร า ย  โดยเฉพาะ ในกรณีที่ ใช้รักษาระยะยาว ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ เพื่อขอคำแนะนำ ในการรักษาด้วยวิธีอื่น แ ต่ ย า บ า ง ตั ว อ า จ ก่ อ ใ ห้ เ กิ ด ผ ล ข้ า ง เ คี ย ง กั บ ผู้ ป่ ว ย บ า ง ร า ย
  • ยาคลายกล้ามเนื้อ แพทย์จะสั่งจ่าย ยาคลายกล้ามเนื้อให้ ในกรณีที่ ผู้ ป่ ว ย มี อ า ก า ร ก ล้ า ม เ นื้ อ ห ด เ ก ร็ ง  โดยรับประทานยานี้ ประมาณ 2-3 วัน เพื่อรักษาอาการดังกล่าว
  • สเตียรอยด์รักษาอาการปวดจากเส้นประสาท ผู้ป่วยที่ปวดเส้นประสาทไซอาติก จ ะ ไ ด้ รั บ ก า ร ฉี ด ส เ ตี ย ร อ ย ด์  โดยแพทย์จะฉีดสารคอร์ติโคสเตียรอยด์ เข้าไปบริเวณ หลังส่วนล่าง หรือ บริเวณเส้นประสาทไขสันหลัง ทั้งนี้ อาจมี การสแกนภาพไขสันหลัง เพื่อช่วยให้ฉีดยา ได้อย่างปลอดภัย ก า ร ฉี ด ค อ ร์ ติ โ ค ส เ ตี ย ร อ ย ด์ จ ะ ช่ ว ย ล ด อ า ก า ร อั ก เ ส บ และ อ า ก า ร ป ว ด เ ส้ น ป ร ะ ส า ท ซึ่งอาการปวด จะทุเลาลงช่วงหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ฤทธิ์ยา อาจใช้เวลาสลายตัว นานกว่านั้น และ อาจไม่ช่วย ให้ผู้ป่วยฟื้นตัว จากกระดูกทับเส้น ได้เต็มที่นัก
  • กายภาพบำบัด จะช่วยให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวร่างกายได้ดีขึ้น รวมทั้งป้องกันการได้รับบาดเจ็บด้วย ผู้ ป่ ว ย ก ร ะ ดู ก ทั บ เ ส้ น ที่ อ า ก า ร ไ ม่ ดี ขึ้ น   แ พ ท ย์ มั ก แ น ะ นำ ใ ห้ ทำ ก า ย ภ า พ บำ บั ด โดยนักกายภาพบำบัดจะใช้เทคนิคที่ช่วยฟื้นฟูการทำงาน และการเคลื่อนไหวร่างกาย อย่าง ก า ร น ว ด หรือ ดั ด ข้ อ ต่ อ  รวมทั้ง แนะนำแผนการออกกำลังกาย ที่เหมาะสม แก่ผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวได้มากขึ้น อาการปวดทุเลาลง และป้องกันการได้รับบาดเจ็บที่หลัง
  • การผ่าตัดหมอนรองกระดูก แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยผ่าตัด หากการรักษาด้วยวิธีอื่นไม่ได้ผลและผู้ป่วยยังมีอาการชา กล้ามเนื้ออ่อนแรง เดินหรือยืนลำบาก นานมากกว่า 6 เดือน หรือไม่สามารถควบคุม การขับถ่ายอุจจาระ และปัสสาวะ ได้ โ ด ย แ พ ท ย์ จ ะ ผ่ า ตั ด  เ พื่ อ นำ ห ม อ น ร อ ง ก ร ะ ดู ก ที่ เ ค ลื่ อ น แ ล ะ ก ด ทั บ เ ส้ น ป ร ะ ส า ท อ อ ก ไ ป  ซึ่งเรียกว่า  ก า ร ผ่ า ตั ด ห ม อ น ร อ ง ก ร ะ ดู ก ซึ่งมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ในแต่ละราย โดยส่วนใหญ่ การผ่าตัดหลัง จ ะ ช่ ว ย ล ด อ า ก า ร เ จ็ บ ป ว ด ที่ ข า แ ต่ อ า จ ไ ม่ ช่ ว ย ล ด อ า ก า ร เ จ็ บ ห ลั ง เ ท่ า ไ ร นั ก  ผู้ป่วยสามารถกลับไปทำงานได้ตามปกติ หลังจากพักฟื้นประมาณ 2-8 สัปดาห์ ซึ่งขึ้นอยู่กับ กระบวนการผ่าตัด และประเภทของงานที่ทำ อย่างไรก็ตาม  การผ่าตัด อ า จ ก่ อ ใ ห้ เ กิ ด ผ ล ข้ า ง เ คี ย ง ไ ด้  โดยผู้ป่วย อ า จ ติ ด เ ชื้ อ  เ ส้ น ป ร ะ ส า ท ถู ก ทำ ล า ย  เ ป็ น อั ม พ า ต  เ ลื อ ด อ อ ก ม า ก  ค ว บ คุ ม ก า ร ทำ ง า น   ข อ ง ร ะ บ บ ขั บ ถ่ า ย ห นั ก เ บ า ไ ม่ ไ ด้  รวมทั้งระบบประสาทสัมผัสรับความรู้สึก ทำงานผิดปกติชั่วขณะ ผู้ป่วยควรปรึกษาศัลยแพทย์ เกี่ยวกับประสบการณ์การผ่าตัด  อัตราความสำเร็จ และโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน ดังกล่าว ก่อนรับการผ่าตัด ศัลยแพทย์จะช่วยประเมินความเสี่ยง ที่อาจเกิดขึ้น และระบุระยะเวลาพักฟื้น ที่เหมาะสม ให้แก่ผู้ป่วย
2. การรักษาด้วยวิธีอื่น นอกจากวิธีที่กล่าวมาแล้ว อาการกระดูกทับเส้น ส า ม า ร ถ บ ร ร เ ท า ไ ด้ ด้ ว ย วิ ธี อื่ น  ดังนี้
  • ไคโรแพรกทิค (Chiropractic) วิธีนี้เป็นศาสตร์ใหม่ เป็นศาสตร์จัดกระดูกสันหลัง ที่ช่วยรักษาอาการปวด บริเวณหลังส่วนล่าง
  • โยคะ วิธีนี้เป็นวิธีบำบัด ที่รวมกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกาย การกำหนดลมหายใจ และการทำสมาธิ เข้าไว้ด้วยกัน การรักษาด้วยโยคะ จะช่วยให้ระบบการทำงานของร่างกายดีขึ้น ผู้ป่วยบางราย ที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีนี้ มักปวดหลังน้อยลง
  • การนวด ผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังเรื้อรัง อาจทุเลาลง เมื่อได้รับการนวด แต่วิธีนี้จะช่วยบำบัดอาการดังกล่าวได้ ในระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น
  • การฝังเข็ม ช่วยลด อาการปวดหลัง และ ปวดคอเรื้อรัง

คชาบาล์ม พรีเมี่ยม - สุดยอดบาล์มทานวดรักษาปวด กระดูกทับเส้น ปวดข้อ ปวดเข่า ปวดหลัง ปวดเอว ปวดต้นคอ มือเท้าชา

นิ้วล็อค

Wednesday, April 17, 2019

เป็นตะคริวไปหาหมอ หมอวินิจฉัยอย่างนี้

เป็นตะคริวไปหาหมอ หมอวินิจฉัยอย่างนี้


เมื่อไปพบแพทย์ด้วยอาการตะคริว แพทย์จะทำการวินิจฉัยหาสาเหตุของการเป็นตะคริว ด้วยการซักถามผู้ป่วย เช่น
  • เป็นตะคริวบ่อยไหม หรือ เป็นที่กล้ามเนื้อส่วนใด ?
  • มีการใช้ยารักษาโรคอะไรอยู่บ้าง ?
  • ดื่มเหล้าไหม ?
  • ออกกำลังกายหรือเปล่า ?
  • แต่ละวันดื่มน้ำปริมาณมากน้อยเพียงใด ?

แพทย์อาจตรวจเลือด เพื่ อดูระดับของ โปแตสเซียม และ แคลเซียม ในเลือด รวมไปถึ ง การทำงานของไต และ ไทรอยด์ และอาจตรวจการตั้ งครรภ์ นอกจากนี้ แพทย์อาจให้ตรวจการบันทึกคลื่ นไฟฟ้ากล้ามเนื้ อ ซึ่งวิธีนี้ จะสามารถวัดการทำงานของกล้ามเนื้ อ และตรวจความผิดปกติของกล้ามเนื้อ หรือการตรวจประสาทไขสั นหลั ง โดยการฉีดสี ซึ่งจะช่วยให้เห็ นภาพของเส้นประสาทไขสันหลัง ได้ชัดเจน ยิ่งขึ้น
นอกจากนั้น หากมีอาการอ่อนเพลี ยอ่อนล้า มีความเจ็บปวด หรือรู้สึ กชา ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ เพราะอาจมีความเกี่ ยวข้ องกับความผิดปกติทางระบบประสาท

ส่วนใหญ่แล้ว ตะคริวสามารถหายได้เอง แต่แพทย์อาจสั่งยาระงับอาการปวดเพื่อรักษาตะคริวได้

ปวดต้นคอหาหมอ หมอวินิจฉัยแบบนี้

ปวดต้นคอหาหมอ หมอวินิจฉัยแบบนี้



เมื่อเข้าพบแพทย์ด้วยอาการปวดต้นคอ แพทย์จะดูประวัติอาการปวดคอ อาการอื่นๆ ที่เกิดร่วมกับอาการปวดคอ และการรักษาที่ผ่านมาของผู้ป่วย และตรวจดูว่าคอของผู้ป่วย เกิดอาการตึง ชา หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรงเท่าใด สามารถหันศีรษะไปข้างหน้า ข้างหลัง หรือด้านข้างได้มากน้อยเพียงใด แล้วแพทย์อาจสั่งตรวจเพื่อวินิจฉัยอาการด้วยวิธีเหล่านี้ ก่อนจะพิจารณาแผนการรักษาต่อไป
การตรวจด้วยภาพสแกน วิธีนี้ถือเ ป็นวิธีที่ดีที่สุด ที่ใช้วินิจฉัย ประก อบประวัติการรักษาขอ งผู้ป่วย และการตรวจร่างกาย แพทย์อาจต้องทำการตรว จผู้ป่วย โดยใช้วิธีที่แ สดงภาพกล้ามเนื้อคอให้เห็นชัดเจนขึ้น เพื่อวินิจฉัยอาการปว ดต้นคอของผู้ป่วย ดังนี้
            1. เอกซเรย์ การเอกซเรย์จะช่วยให้เห็นเส้นประสาท หรือ กระดูกสันหลัง ที่อา จถูกกระดูกงอก กดทับ หรือ เห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น กับกระดูกสันหลัง
            2. การทำซีทีสแกน การทำซีทีสแกนควบคู่ไปกับ ภาพเอกซเรย์คอ จุดต่างๆ จะช่วยให้รายละเอียดของโครงสร้างกระดูกและกล้ามเนื้อคอได้ชัดเ จนมากขึ้น
            3. การตรวจ ด้วยเครื่องเอ็มอาร์ไอ ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้เ ห็นกระดูกและเนื้อเยื่ออ่อน รวมทั้งไขสันหลัง และ เส้นประสาท ที่มาจากไขสันหลัง
            4. การตรวจด้วยวิธีอื่นๆ นอกจากการตรวจด้วยภาพสแกนแ ล้ว ยังปรากฏการตรวจและวินิจฉัยอาการปวดต้นคอด้วยวิธีอื่น ๆ ดังนี้
                4.1 การตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ 
                กรณีที่แพทย์คิดว่าอาการปวดต้นคอ อาจเกี่ยวข้อ งกับเส้นประสาทถูกกดทับ แพทย์จะสั่งตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ โดยแพทย์จะสอ ดเข็มผ่านผิวหนังเข้าไป และเริ่มทำการตรวจเพื่อวัดความเร็วของสัญญาณประสาท ซึ่งความเร็วนี้จะช่วยให้รู้ว่าเส้นประสาทของผู้ป่ วยทำงานปกติหรือไม่
                4.2 การตรวจเลือด 
                วิธีนี้จะช่วยให้รู้ว่าผู้ป่ วยมีอาการอักเสบหรือติดเชื้อหรือไม่ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำใ ห้เกิดอาการปวดต้นคอ

Tuesday, April 16, 2019

โรคออฟฟิศซินโดรมเป็นอย่างไรหนอ?

โรคออฟฟิศซินโดรมเป็นอย่างไรหนอ?


หนุ่มสาวชาวออฟฟิศ ที่มีอาการปวดทรมานของกล้ามเนื้อ เนื่องจากทำงานหนัก นั่งหน้าคอมพิวเตอร์  มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม คนที่เป็นโรคนี้จะมีอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด ซึ่งก็เนื่องมาจากการทำงานที่ใช้กล้ามเนื้อมัดเดิม ซ้ำๆ เป็นระยะเวลานาน ต่อเนื่อง อย่างเช่น การนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ นานเกินไป โดยไม่ขยับผ่อนคลาย หรือ ไม่มีการปรับเปลี่ยนอิริยาบถ ซึ่งอาจลุกลาม จนกลายเป็น อาการปวดเรื้อรัง รวมไปถึง อาการชาที่บริเวณแขน หรือมือ จากการที่ เส้นประสาทส่วนปลาย ถูกกดทับ อย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การไปพบแพทย์ เพื่อรับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง และ การดูแลสุขภาพของตนเอง ตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยลดความเสี่ยง ของ การเกิดออฟฟิศซินโดรม ได้

หากมีอาการเริ่มแรก อย่าปล่อยให้เป็นเรื้อรัง รีบดูแลตัวเอง ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หาวิธีป้องกัน หรือ ใช้สมุนไพรนวดที่ช่วยคลายเส้นคลายกล้ามเนื้อ ที่มีส่วนผสมของตัวยาสมุนไพรเกรดพรีเมี่ยมถึง 10 กว่าชนิด ช่วยแก้ปวดอักเสบ เป็นยาสมุนไพรตำรับรักษาปวดที่มีความเก่าแก่ 50 กว่าปี ใช้ง่าย หายเร็ว สมุนไพรแก้ปวดคชา

โรคอัมพฤกษ์อัมพาต เกิดจากสาเหตุนี้


โรคอัมพฤกษ์อัมพาต มีสาเหตุเกิดจาก สมองขาดเลือดทันที ภายในระยะเวลา เป็นนาที หรือ ชั่วโมง ไม่ใช่ค่อยเป็นค่อยไป และจะแสดงอาการเฉพาะของโรคออกมา สาเหตุสำคัญที่ทำให้ิผู้ป่วยเป็นอัมพฤกษ์อัมพาต มีอยู่ 2 สาเหตุ คือ หลอดเลือดแดงสมออุดตัน ซึ่งเป็นสาเหตุพบบ่อยกว่า และหลอดเลือดแดงสมองแตก

1. หลอดเลือดแดงสมองอุดตัน 

กรณีนี้ เกิดจากหลอดเลือดแดงสมองตีบตันจากโรคหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) ซึ่งมีสาเหตุมาจาก โรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน และ การสูบบุหรี่ หรือ มีภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดแดงสมอง หรือ ภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำที่ขา หรือ ลิ่มเลือดจากโรคหัวใจเต้นรัว เอเอฟ (AF, atrial fibrillation) หลุดลอยเข้ากระแสโลหิต และอุดตันหลอดเลือดสมอง



2. หลอดเลือดแดงสมองแตก 

มักพบได้บ่อย ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และ ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง 


ทั้งสองสาเหตุ ต่างก็ก่อให้เกิดโรคที่มีความรุนแรง ซึ่งหากไม่ถึงแก่ชีวิต ก็อาจพิการ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ และเมื่อต้องกลับไปดูแลตัวเองที่บ้าน ก็ต้องการคนในครอบครัว ช่วยเหลือดูแลในการดำเนินชีวิต