Sunday, April 21, 2019

โรคหลอดเลือดสมองมีวิธีป้องกันได้

โรคหลอดเลือดสมองมีวิธีป้องกันได้


โรคหลอดเลือดสมองซึ่งสามารถนำไปสู่การเป็นอัมพฤกษ์อัมพาต แต่เราสามารถป้องกันได้ ด้วยการลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือด ซึ่งการลดความเสี่ยง ทำได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต การรับประทานอาหาร และการออกกำลังกาย ดังนี้

  1. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ จะช่วยลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองได้ โดยเฉพาะ ผัก ผลไม้ ที่มีไฟเบอร์สูง ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เพราะจะส่งผลให้เกิดภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง รวมถึง อาหารที่มีรสเค็มจัด ที่เป็นสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง
  2. ควบคุมน้ำหนัก โรคอ้วนเป็นสาเหตุของโรคร้ายแรง รวมทั้งโรคหลอดเลือดสมอง การควบคุมน้ำหนัก จะช่วยลดความเสี่ยง ลงได้
  3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สามารถช่วยควบคุมน้ำหนัก และช่วยลดระดับคอเลสเตอลรอล  รวมถึงความดันโลหิตสูงได้ ระยะเวลาในการออกกำลังกายที่เหมาะสม คือ 2.5 ชั่วโมง ต่อ สัปดาห์ สำหรับการออกกำลังกาย แบบแอโรบิก ส่วนเด็กและวัยรุ่น ควรออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมง
  4. งดสูบบุหรี่ บุหรี่เป็นปัจจัยหลัก ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง การเลิกสูบบุหรี่ จะช่วยลดความเสี่ยงลงได้ หากไม่สามารถเลิกได้ด้วยตนเอง ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาวิธีเลิกบุหรี่ อย่างมีประสิทธิภาพ
  5. ควบคุมปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ ปริมาณที่พอเหมาะของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จะช่วยลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจได้ แต่จะดีที่สุดหากไม่ดื่มเลย หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็สามารถดื่มได้ แต่ควรดื่มในปริมาณที่แนะนำ คือ ไม่ควรเกินวันละ 2 แก้วในผู้ชาย และไม่ควรเกินวันละ 1 แก้วในผู้หญิง


นอกจากนี้ ยังควรควบคุมปัจจัยเสี่ยง ที่เกี่ยวข้องกับโรคหลอดเลือดสมองโดยตรง ดังต่อไปนี้

  1. ควบคุมระดับคอเลสเตอรอล ควรตรวจวัดระดับไขมันในเลือด อย่างน้อย ทุก 6-12 เดือน หากเป็นผู้ที่มีความเสี่ยง หรือ มีภาวะคอเลสเตอรอลสูง อยู่แล้ว ควรพบแพทย์เพื่อติดตามอาการอย่างสม่ำเสมอ
  2. ควบคุมระดับความดันโลหิต ด้วยการตรวจวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยควบคุมระดับความดันโลหิต ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง
  3. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด หากผู้ป่วยมีอาการของโรคเบาหวาน แพทย์จะตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด ถ้าผลออกมาพบว่า เป็นโรคเบาหวาน ผู้ป่วยจำเป็นต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิต และพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ควรรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยควบคุมอาการได้ จะช่วยให้ความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองลดลง
  4. รักษาโรคหัวใจอย่างต่อเนื่อง หากผู้ป่วยมีอาการของโรคหัวใจอยู่แล้ว ควรเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการรับประทานยา และการผ่าตัด เพราะการรักษาที่ดี จะช่วยลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองได้
  5. พบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันความผิดปกติ ที่อาจนำไปสู่อาการโรคหลอดเลือดสมอง ควรพบแพทย์ และตรวจสุขภาพ อย่างสม่ำเสมอ







คชาบาล์ม พรีเมี่ยม – สุดยอดบาล์มทานวดรักษาปวด ปวดข้อ ปวดเข่า ปวดหลัง ปวดเอว ปวดต้นคอ มือเท้าชา อัมพฤกษ์ อัมพาต ช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น

เรื่องอื่นน่าสนใจ
หมอนรองกระดูกทับเส้น อาการรุนแรงของโรคออฟฟิศซินโดรม

No comments:

Post a Comment