Sunday, June 23, 2019

นิ้วซ้นหมอรักษาอย่างนี้

นิ้วซ้นหมอรักษาอย่างนี้

นิ้วซ้น เป็นอาการบาดเจ็บของข้อต่อนิ้ว เกิดจากกระดูกนิ้วเลื่อนไปจากตำแหน่งของมัน และปลายสุดของกระดูกไม่สามารถตั้งตรงได้ตามปกติ ส่วนใหญ่ นิ้วซ้นมักเกิดกับข้อนิ้ว ตรงกลางของ นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อย สาเหตุของนิ้วซ้น มักเกิดจาก การงอนิ้วไปด้านหลังมากเกินไป


ก่อนผู้ป่วยนิ้วซ้นไปพบแพทย์ สามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้ด้วยตัวเอง ดังนี้
  • พยายามเลี่ยงการเคลื่อนไหวนิ้วที่ซ้น สามารถดามนิ้วที่ซ้นเข้ากับนิ้วอื่น ด้วยปากกา หรือ สิ่งของที่มีรูปร่างเป็นแท่ง แล้วใช้สก็อตเทป สำหรับปฐมพยาบาล พันปิดไว้ให้ถูกต้อง
  • ลดอาการบวมของนิ้ว ด้วยการยกมือข้างที่นิ้วซ้นขึ้นไว้ระดับเดียวกับหัวใจ
  • เลี่ยงเพื่อไม่ให้นิ้วที่ซ้นกระทบกระเทือน
  • ถอดเครื่องประดับต่างๆ ที่สวมอยู่ที่นิ้วออก เพื่อป้องกันไม่ให้นิ้วบวมมากกว่าเดิม
  • ควรหาหมอนมารองนิ้วที่ซ้นให้ยกขึ้นสูง ในกรณีที่ต้องนอนหงาย หรือเอนหลังบนเก้าอี้ แล้วฝ่ามือราบขนานพื้น เพื่อบรรเทาอาการปวดบวม
  • ลดอาการบวมและปวด ด้วยการประคบน้ำแข็ง โดยประคบเย็นประมาณ 20-30 นาที ทุก 3-4 ชั่วโมง ทำตลอด 2-3 วัน หรือ จนกว่าอาการปวดบวมจะทุเลาลง
  • ควรล้างแผลให้สะอาด และปิดด้วยผ้าพันแผลให้เรียบร้อย รวมทั้งกดห้ามเลือดให้หยุดไหล ในกรณีที่ นิ้วมีแผลเปิดออกมา

เมื่อพบแพทย์ แพทย์จะเอกซเรย์ เพื่อวินิจฉัยอาการนิ้วซ้น และรักษาผู้ป่วยตามอาการ หากผู้ป่วยนิ้วซ้นมีแผลเปิดที่นิ้ว แพทย์จะทำความสะอาดแผล ก่อนการรักษา โดยแพทย์จะฉีดยาป้องกันบาดทะยัก และยาปฏิชีวนะให้ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ

แพทย์มีวิธีรักษานิ้วซ้น ดังต่อไปนี้


  • ดึงกระดูก แพทย์จะดึงกระดูกข้อนิ้วที่ซ้น โดยแพทย์จะฉีดยาชาเฉพาะที่ เพื่อลดอาการปวด แล้วจึงค่อยๆ ดึงข้อต่อ ให้กลับเข้าที่เป็นปกติ


  • สวมอุปกรณ์สำหรับดามนิ้ว หลังจากที่แพทย์ดึงกระดูกเข้าที่เป็นปกติแล้ว แพทย์จะให้สวมอุปกรณ์ดามนิ้ว หรือดามนิ้วที่ซ้นเข้ากับนิ้วอื่น เป็นเวลานานประมาณ 3-6 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับว่า เกิดอาการซ้นที่ข้อต่อส่วนใด ทั้งนี้ ผู้ป่วยอาจต้องบริหารมือ เพื่อให้นิ้วแข็งแรง และลดอาการข้อต่อแข็ง ให้น้อยลง


  • ผ่าตัดนิ้ว หลังจากการรักษาด้วยวิธีดึงกระดูก ถ้าหากว่าอาการนิ้วซ้นของผู้ป่วยไม่ดีขึ้น หรือนิ้วไม่แข็งแรงกลับมาเคลื่อนอีก แพทย์อาจต้องผ่าตัดนิ้ว ซึ่งวิธีนี้จะใช้รักษาผู้ป่วยนิ้วซ้น ที่มีอาการร้ายแรง หรือมีการทำลายเส้นประสาทที่อยู่ใกล้ๆ เส้นเอ็น หรือเนื้อเยื่อส่วนอื่น โดยแพทย์จะผ่าตัดใส่ลวดเล็กๆ หรือใส่แผ่นโลหะกับสกรู เข้าไปที่กระดูกข้อต่อ ที่มีปัญหา


สมุนไพรนวดคชา : สุดยอดสมุนไพรทานวดแก้ปวด ตำรับเก่าแก่กว่า 50 ปี ผลิตจากสมุนไพรเกรดพรีเมี่ยม เป็นสมุนไพรไทยโบราณและหายาก 10 กว่าชนิด ตัวยาสกัดเข้มข้น ซึมลึกเข้าถึงจุด หยุดปวดทันใจ รักษาอาการปวด ปวดข้อ ปวดเข่า ปวดขา ปวดเส้นเอ็น เอ็นอักเสบ ปวดหลัง ปวดเอว ปวดต้นคอ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออักเสบ มือเท้าชา มือล็อค ไหล่ติด เส้นยึด ตาลาย ตะคริว


Friday, June 21, 2019

ปวดขาป้องกันอย่างนี้

ปวดขาป้องกันอย่างนี้


อาการปวดขา เป็นอาการปวดแบบรู้สึกปวดเสียด หรือ ปวดแสบ บริเวณต้นขา น่อง หรือ หน้าแข้ง มีอาการปวดขาเป็นพักๆ หรือ ต่อเนื่อง และพอได้พัก ก็จะดีขึ้นได้เอง หรือ อาจมีอาการอื่นเกิดขึ้น เช่น เหน็บชา ตะคริว ปวดร้าว หรือ ปวดตุบๆ เป็นต้น

อาการปวดขาสามารถป้องกันได้ ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

  • ควรยืดเส้นยืดสาย ก่อน และ หลังออกกำลังกาย ควรออกกำลังกาย 5 วันต่อสัปดาห์ นานครั้งละ 30 นาที
  • ควบคุมน้ำหนัก และ รับประทานอาหาร ที่มีโปแตสเซียมสูง เช่น กล้วย และ เนื้อไก่
  • งดสูบบุหรี่ และจำกัดปริมาณการดื่ม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผู้หญิงควรดื่มเพียง 1 ขวด ต่อวัน และ ผู้ชายควรดื่ม 2 ขวด ต่อวัน
  • ใช้ไม้เท้าช่วยพยุง กรณีที่ ไม่สามารถยืน หรือเดิน ได้ตามปกติ
  • ลุกขึ้นเดินทุกๆ 2-3 ชั่วโมง หากต้องเดินทาง เป็นเวลานานๆ ไม่ว่าจะเป็น ทางรถโดยสาร เครื่องบิน หรือ รถไฟ เพื่อป้องกัน การเกิดโรคหลอดเลือดดำส่วนลึกอุดตัน
  • เข้ารับการตรวจ และควบคุมระดับความดันโลหิต และคอเลสเตอรอลในร่างกาย อย่างสม่ำเสมอ
  • ลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน ผู้มีโรคประจำตัว ควรรับประทานยา อย่างต่อเนื่อง
  • ผู้ที่มีอาการปวดจากเส้นประสาทไซอาติก ไม่ควรนอนติดเตียง เป็นเวลานานกว่า 24 ชั่วโมง เนื่องจาก ผู้ป่วยที่มีอาการดังกล่าว สามารถกลับมาทำกิจวัตร ได้ตามปกติ
  • ปรึกษาแพทย์เพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการป้องกัน การเกิดอาการปวดขา
  • หลีกเลี่ยงกิจกรรม ที่ทำให้ปวดขา เช่น การยืน เดิน หรือ ใส่รองเท้าส้นสูง นานๆ เป็นต้น

หากป้องกันตัวเองด้วยวิธีดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังเกิดอาการปวดขา ควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยและรักษา


สมุนไพรนวดคชา : สุดยอดสมุนไพรทานวดแก้ปวด ตำรับเก่าแก่กว่า 50 ปี ผลิตจากสมุนไพรเกรดพรีเมี่ยม เป็นสมุนไพรไทยโบราณและหายาก 10 กว่าชนิด ตัวยาสกัดเข้มข้น ซึมลึกเข้าถึงจุด หยุดปวดทันใจ รักษาอาการปวด ปวดข้อ ปวดเข่า ปวดขา ปวดเส้นเอ็น เอ็นอักเสบ ปวดหลัง ปวดเอว ปวดต้นคอ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออักเสบ มือเท้าชา มือล็อค ไหล่ติด เส้นยึด ตาลาย ตะคริว

Thursday, June 13, 2019

ข้อเท้าแพลงมีอาการอย่างนี้

ข้อเท้าแพลงมีอาการอย่างนี้


ข้อเท้าแพลง เป็นอาการบาดเจ็บที่ข้อเท้า สาเหตุมักเกิดจากอุบัติเหตุข้อเท้าพลิก จนทำให้เอ็นช่วยยึดกระดูกระหว่างข้อเท้า กับ กระดูกขา เกิดอาการยึดตึง เกินปกติ หรือฉีกขาด ขณะที่ข้อเท้าแพลง ร่างกายจะไม่สามารถขยับช่วงข้อเท้าได้ตามปกติ


ผู้ป่วยข้อเท้าแพลง มักมีอาการดังต่อไปนี้
  • ข้อเท้าบวม
  • เจ็บปวดบริเวณข้อเท้าที่แพลง เมื่อลงน้ำหนักที่เท้า หรือ ได้รับแรงกด
  • บริเวณข้อเท้าที่แพลง มีรอยช้ำเลือด หรือ ผิวหนังมีสีที่เปลี่ยนไป
  • เกิดอาการยึดตึงตรงข้อเท้าบริเวณที่แพลง และ ไม่สามารถเคลื่อนไหว ได้ตามปกติ
  • อาจได้ยินเสียงเส้นเอ็นพลิก ในขณะที่เกิดข้อเท้าแพลง
เมื่อมีอาการต่างๆ ของข้อเท้าแพลง ผู้ป่วยสามารถปรึกษาเภสัชกร และซื้อยาจากร้านขายยาทั่วไป หรือ เพื่อความมั่นใจ ไปพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจรักษา และป้องกันการบาดเจ็บ ที่อาจเป็นอันตราย และรุนแรงกว่า ข้อเท้าแพลง



คชาบาล์ม พรีเมี่ยม : สุดยอดสมุนไพรทานวด ตำรับเก่าแก่กว่า 50 ปี ผลิตจากสมุนไพรเกรดพรีเมี่ยม เป็นสมุนไพรไทยโบราณและหายาก 10 กว่าชนิด ตัวยาสกัดเข้มข้น ซึมลึกเข้าถึงจุด หยุดปวดทันใจ รักษาอาการปวด ปวดข้อ ปวดเข่า ปวดเส้นเอ็น เอ็นอักเสบ ปวดหลัง ปวดเอว ปวดต้นคอ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออักเสบ มือเท้าชา มือล็อค ไหล่ติด เส้นยึด ตาลาย ตะคริว

คอเคล็ด

Tuesday, June 4, 2019

ปวดน่องมีสาเหตุมาจากอย่างนี้

ปวดน่องมีสาเหตุมาจากอย่างนี้


ปวดน่อง เป็นอาการปวดบริเวณน่อง ซึ่งอาจมีอาการแตกต่างกันไปในแต่ละคน โดยมาก มักมีอาการปวดเมื่อย ปวดแปลบ ปวดร้าว หรือ รู้สึกปวดตึง บริเวณด้านหลังของขาส่วนล่าง 

อาการปวดน่องเกิดได้จากหลายสาเหตุ สาเหตุที่พบได้บ่อย ได้แก่
  • การบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย เกิดจากการอบอุ่นร่างกายไม่เพียงพอก่อนออกกำลังกาย หรือ ใช้กล้ามเนื้อน่องมากจนเกินไป โดยเฉพาะ การออกกำลังกายที่เน้นบริหารช่วงขา เช่น เดิน วิ่ง ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ ยกน้ำหนัก เป็นต้น เพราะอาจทำให้กล้ามเนื้อฉีกขาด และ เกิดอาการปวดน่อง ตามมาได้
  • การเกิดตะคริว จนทำให้กล้ามเนื้อหดรัดตัว อาจเกิดจากการออกกำลังกายเป็นเวลานาน หรือ หนักเกินไป หรือ ร่างกายอยู่ในภาวะสูญเสียน้ำและเกลือแร่
  • การห้อเลือด หรือ รอยฟกช้ำ เป็นผลมาจากหลอดเลือดฝอยใต้ผิวหนังแตก หลังได้รับบาดเจ็บ เช่น ถูกกระแทกจากของไม่มีคม หรือ หกล้ม เป็นต้น
  • อาการปวดร้าวลงขา มีสาเหตุมาจากเส้นประสาทไซอาติกถูกกดทับ ส่งผลให้เกิดอาการปวด ชา และเจ็บแปลบ บริเวณหลังส่วนล่าง ซึ่งผู้ป่วยอาจมีอาการปวดร้าวลงไปถึงน่อง และกล้ามเนื้ออื่นๆ ร่วมด้วย
  • เอ็นร้อยหวายอักเสบ เกิดจากการใช้เส้นเอ็นมากเกินไป อาการทั่วไปที่พบ คือ เอ็นอักเสบ ปวดบวมบริเวณด้านหลังของขาส่วนล่าง และเมื่องอเท้าจะเคลื่อนไหวได้ในทิศทางที่จำกัด
  • เส้นประสาทบริเวณขาเสียหาย จากโรคเบาหวาน ซึ่งเป็นภาวะที่พบมาก ในผู้ป่วยเบาหวาน ส่งผลให้เส้นประสาทที่มือ แขน ขา และเท้าถูกทำลาย
  • หลอดเลือดดำที่ขาอุดตัน ทำให้ลิ่มเลือดแข็งตัวในหลอดเลือดดำส่วนลึก บริเวณแขน ขา และน่อง อาจส่งผลให้ขาเกิดอาการบวม และปวดตึง
  • ความดันในช่องกล้ามเนื้อสูง เป็นภาวะที่เกิดขึ้นหลังได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรง ทำให้ผู้ป่วย มีอาการชา ปวดอย่างรุนแรง และ เคลื่อนไหวลำบาก

หากรู้สึกปวดน่องมากและรุนแรง เกินกว่าจะดูแลด้วยตนเองได้ ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษา


คชาบาล์ม พรีเมี่ยม : สุดยอดสมุนไพรทานวด ตำรับเก่าแก่กว่า 50 ปี ผลิตจากสมุนไพรเกรดพรีเมี่ยม เป็นสมุนไพรไทยโบราณและหายาก 10 กว่าชนิด ตัวยาสกัดเข้มข้น ซึมลึกเข้าถึงจุด หยุดปวดทันใจ รักษาอาการปวด ปวดข้อ-เข่า ปวดหลัง ปวดเอว ปวดต้นคอ ปวดเมื่อย กล้ามเนื้ออักเสบ มือเท้าชา มือล็อค ไหล่ติด เส้นยึด ตาลาย ตะคริว

Monday, June 3, 2019

ช้ำหมอวินิจฉัยอย่างนี้

ช้ำหมอวินิจฉัยอย่างนี้


ช้ำ เกิดจากการที่ร่างกายกระแทกกับวัตถุบางชนิด ทำให้เส้นเลือดฝอยแตก จนเกิดเลือดสะสมอยู่ใต้ผิวหนัง ทำให้ผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ จัดเป็นอาการบาดเจ็บ บริเวณผิวหนังชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถพบได้บ่อย และเกิดขึ้นได้ กับคนทุกเพศทุกวัย

การระมัดระวังตัวไม่ให้กระแทกหรือชนกับวัสดุของแข็งจะเป็นวิธีการป้องกันตัวเองจากการบาดเจ็บและเกิดรอยช้ำ หากระมัดระวังแล้วแต่ยังเกิดอุบัติเหตุจนบาดเจ็บ และเกิดรอยช้ำขึ้น เบื้องต้นให้สังเกตตัวเองว่ารอยช้ำนั้นรุนแรงหรือไม่ หากรุนแรงควรพบแพทย์
เมื่อพบแพทย์ แพทย์จะทำการวินิจฉัยดูว่า รอยช้ำนั้นมีสาเหตุมาจากการบาดเจ็บอย่างชัดเจนหรือไม่ และหากแพทย์ไม่สงสัยว่าผู้ป่วยมีอาการกระดูกหักร่วมด้วย แพทย์จะไม่ทดสอบใดๆ แต่ในกรณีอื่นๆ แพทย์อาจต้องตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้
  • ในกรณีที่ ผู้ป่วยมีอาการบวม หรือ เจ็บปวดอย่างรุนแรง แพทย์อาจตรวจด้วยวิธีการเอกซเรย์ ตรงบริเวณที่สงสัยว่า อาจมีกระดูกหัก
  • ในกรณีที่ ผู้ป่วยเกิดรอยช้ำบ่อย และไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด แพทย์อาจใช้วิธีการตรวจเลือด เพื่อหาความผิดปกติ ในการแข็งตัวของเลือด

คชาบาล์ม พรีเมี่ยม : สุดยอดสมุนไพรทานวด ตำรับเก่าแก่กว่า 50 ปี ผลิตจากสมุนไพรเกรดพรีเมี่ยม เป็นสมุนไพรไทยโบราณและหายาก 10 กว่าชนิด ตัวยาสกัดเข้มข้น ซึมลึกเข้าถึงจุด หยุดปวดทันใจ รักษาอาการปวด ไม่ว่าจะ ปวดข้อ ปวดเข่า โรคเก๊าท์ รูมาตอยด์ ปวดหลัง ปวดเอว ปวดต้นคอ มือเท้าชา มือล็อค ไหล่ติด เส้นยึด ตาลาย สลายลิ่มเลือด ปัญหาปวดกระดูก ขับลมออกจากเส้น อัมพฤกษ์ เหน็บชา ตะคริว ปวดกระดูก ปวดตามเส้น ข้อเสื่อม กล้ามเนื้อ อักเสบ ฟกช้ำ กระดูกทับเส้น แผลอักเสบ ริดสีดวง

Sunday, June 2, 2019

กระดูกสันหลังคดรักษาอย่างนี้

กระดูกสันหลังคดรักษาอย่างนี้


กระดูกสันหลังคด เป็นการคดงอของกระดูกสันหลัง หรือ กระดูกสันหลังมีลักษณะบิดเบี้ยวไปด้านข้าง ทำให้เสียสมดุลและไม่สวยงาม สามารถเป็นได้ทุกวัย แต่ส่วนใหญ่แล้ว มักเกิดขึ้นในเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 10-15 ปี โดยทั่วไป

การรักษาอาการกระดูกสันหลังคด
ผู้ป่วยเด็ก ที่มีอาการกระดูกสันหลังคด เพียงเล็กน้อย อาจไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัด หรือ การใส่เสื้อเกราะดัดหลัง แต่อาจต้องเข้าพบแพทย์ทุก 4-6 เดือน เพื่อให้แพทย์ตรวจวินิจฉัยดูการเปลี่ยนแปลงของกระดูกสันหลัง และประเมินวิธีการรักษาได้อย่างเหมาะสม หากว่ามีอาการรุนแรงขึ้น การรักษาจึงมักขึ้นอยู่กับปัจจัยต่อไปนี้
  • เพศ ความเสี่ยงในการพัฒนาของตัวโรค มักเกิดขึ้นในเพศหญิงได้มากกว่าเพศชาย
  • ลักษณะ การคดงอของกระดูกที่เป็นคลื่นคล้ายตัวอักษรรูปตัว S ในภาษาอังกฤษ มักมีความรุนแรงมากกว่าลักษณะที่คล้ายกับตัวอักษรรูปตัว C
  • ตำแหน่ง การคดงอที่เกิดขึ้นในกระดูกสันหลังช่วงอก อาจรุนแรงกว่าการคดงอ ในช่วงเอว หรือคอ
  • การเจริญเติบโต การเจริญเติบโตส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของการคดงอ ผู้ป่วยเด็กบางรายจึงอาจจำเป็นต้องใส่เสื้อเกราะ เพื่อช่วยพยุงกระดูกสันหลัง ที่กำลังเจริญเติบโต
  • ความรุนแรง การคดงอมักเพิ่มขึ้น ตามระยะเวลาของอาการ
ทั้งนี้ ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ ถึงวิธีการรักษาที่เหมาะสม ซึ่งอาจมีทั้ง วิธีบรรเทาอาการเบื้องต้นที่ผู้ป่วยดูแลได้เอง หรือ วิธีการรักษาทางการแพทย์

การรักษาด้วยตนเอง
  • การยืดเส้น กายภาพบำบัด การนวด การออกกำลังกายบางประเภท เพื่อสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบๆ กระดูกสันหลัง
  • การใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการปวด เช่น พาราเซตามอล

การรักษาด้วยกระบวนการทางการแพทย์
  • การใส่เสื้อเกราะดัดหลัง
แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยเด็ก ที่ยังมีการเจริญเติบโตของกระดูก หรือ มีอาการกระดูกสันหลังคดในระดับปานกลาง สวมเสื้อเกราะดัดหลัง ซึ่งแม้จะรักษาอาการกระดูกสันหลังคดไม่ได้ แต่จะช่วยป้องกันกระดูกไม่ให้กระดูกสันหลังเกิดความคดงอมากขึ้น
เสื้อเกราะดัดหลัง ส่วนใหญ่ทำจากพลาสติก มีส่วนโค้งเว้า รับกับร่างกายของผู้ป่วย ทั้งบริเวณแขน บริเวณหลังช่วงล่าง ซี่โครง และสะโพก แนบสนิทไปกับร่างกาย สามารถใส่ไว้ภายใต้เสื้อผ้า โดยที่ผู้อื่นไม่สามารถสังเกตเห็นได้
ผู้ป่วยมักใส่เสื้อเกราะดัดหลัง ทั้งกลางวัน และกลางคืน เนื่องจาก ประสิทธิภาพของเสื้อเกราะ ขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการสวมใส่ กรณีการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ เช่น การเล่นกีฬา หรือ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับร่างกาย ผู้ป่วยสามารถเลือกที่จะสวมใส่ หรือ ถอดเสื้อเกราะ ได้เช่นกัน ผู้ป่วยหยุดใช้เสื้อเกราะได้ หลังจากการเจริญเติบโตของกระดูกสิ้นสุดลง ซึ่งสังเกตได้จาก
  • ภายหลังการมีประจำเดือน เป็นเวลา 2 ปี
  • เมื่อบริเวณต่างๆ ของร่างกาย มีขนขึ้น
  • เมื่อส่วนสูงคงที่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
  • การผ่าตัด
อาการกระดูกสันหลังคดที่รุนแรง มักเกิดขึ้นตามระยะเวลาที่มีอาการ แพทย์อาจจำเป็นต้องใช้การผ่าตัด เพื่อลดการคดงอของกระดูก และป้องกันอาการรุนแรงที่อาจเกิดขึ้น วิธีการผ่าตัดกระดูกสันหลังคด ที่เป็นที่นิยมคือ การเชื่อมข้อกระดูกสันหลัง ศัลยแพทย์จะยึดกระดูกชิ้นเล็กๆ เข้ากับแนวกระดูกสันหลัง โดยใช้ชิ้นส่วนกระดูก หรือ วัสดุที่คล้ายคลึงกับกระดูก เหล็กดามน็อต และ ตะขอ ตรึงเข้าไว้ด้วยกัน ในผู้ป่วยเด็ก ทุกๆ 6 เดือน ศัลยแพทย์จะปรับเปลี่ยนความยาวของแนวยึด ตามการเปลี่ยนแปลงของการเจริญเติบโต และการคดงอของกระดูก

คชาบาล์ม พรีเมี่ยม : สุดยอดสมุนไพรทานวด ตำรับเก่าแก่กว่า 50 ปี ผลิตจากสมุนไพรเกรดพรีเมี่ยม เป็นสมุนไพรไทยโบราณและหายาก 10 กว่าชนิด ตัวยาสกัดเข้มข้น ซึมลึกเข้าถึงจุด หยุดปวดทันใจ รักษาอาการปวด ปวดข้อ-เข่า ปวดหลัง ปวดเอว ปวดต้นคอ มือเท้าชา มือล็อค ไหล่ติด เส้นยึด ตาลาย ตะคริว

เอ็นร้อยหวายอักเสบหมอรักษาอย่างนี้

เอ็นร้อยหวายอักเสบหมอรักษาอย่างนี้


การรักษาอาการเอ็นร้อยหวายอักเสบมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี โดยทั่วไป ผู้ป่วยสามารถบรรเทาอาการได้ด้วยตนเองที่บ้าน แต่หากอาการรุนแรง หรือ ไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์ เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยอาการ
การรักษาเบื้องต้น 
ผู้ป่วยที่มีอาการเพียงเล็กน้อย และเกิดจากสาเหตุที่ไม่รุนแรง อาจบรรเทาอาการได้ด้วยการปฏิบัติตามหลัก RICE เพื่อช่วยลดอาการปวดบวม ดังต่อไปนี้
  • Rest คือ การพัก โดยหลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย ที่ก่อให้เกิดแรงต่อเส้นเอ็น และไม่ควรกดบริเวณนั้น จนกว่าอาการจะดีขึ้น หากผู้ป่วยสามารถลดแรงตึงตัวของเส้นเอ็นได้ จะทำให้อาการหายดีอย่างรวดเร็ว
  • Ice  คือ การใช้น้ำแข็งประคบ อาจใช้ถุงน้ำแข็งประคบบริเวณเส้นเอ็นที่อักเสบ นานประมาณ 15-20 นาที น้ำแข็งจะทำให้อาการบาดเจ็บ และอาการบวม ดีขึ้น
  • Compression คือ การรัดด้วยผ้าพันแผล บริเวณเส้นเอ็น เพื่อลดอาการบวม และการเคลื่อนไหวของเส้นเอ็นบริเวณนั้น แต่ไม่ควรรัดแน่นเกินไป เพราะอาจทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก
  • Elevation คือ การยกเท้าเหนือบริเวณหน้าอก โดยอาจนอนราบบนพื้น แล้วนำหมอนมาหนุนเท้า ซึ่งสามารถทำให้เลือดไหลเวียนกลับเข้าสู่หัวใจ และลดอาการบวมได้
อย่างไรก็ตาม หากดูแลตนเองในเบื้องต้น แล้วอาการยังไม่ทุเลาลง หรือทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ผู้ป่วยอาจต้องไปพบแพทย์ ซึ่งอาจต้องใช้วิธีอื่นๆ ในการรักษาร่วมด้วย ดังนี้
การรักษาด้วยยา หลังจากการกินยาหากผู้ป่วยมีอาการไม่ดีขึ้น เช่น ยาไอบูโปรเฟน หรือ ยาในกลุ่มเอ็นเซด (NSAID) เป็นต้น แพทย์อาจให้ยาที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อช่วยลดอาการปวด และการบาดเจ็บ
การทำกายภาพบำบัด เป็นวิธีบำบัดรักษา ด้วยการออกกำลังกายหรือใช้อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและความแข็งแรง ของเอ็นร้อยหวายที่อักเสบ เช่น การออกกำลังกายแบบเอกเซนตริก (Eccentric) เป็นการออกกำลังกายเกี่ยวกับการหดตัวของกล้ามเนื้อ อย่างการเกร็ง ขณะผ่อนแรงยกน้ำหนัก จะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นถูกยืดออก หรือ การใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ชนิดต่างๆ เพื่อช่วยเสริมการทำหน้าที่ของเส้นเอ็น อย่าง การใส่อุปกรณ์ในรองเท้า หรือบริเวณส้นเท้า เป็นต้น
การผ่าตัด เมื่อทำการรักษาด้วยวิธีต่างๆ แล้วอาการไม่ดีขึ้น หรือ เสี่ยงต่อการเกิดเอ็นฉีกขาด แพทย์อาจต้องผ่าตัด เพื่อรักษาเอ็นร้อยหวายตรงบริเวณดังกล่าว

คชาบาล์ม พรีเมี่ยม : สุดยอดสมุนไพรทานวด ตำรับเก่าแก่กว่า 50 ปี ผลิตจากสมุนไพรเกรดพรีเมี่ยม เป็นสมุนไพรไทยโบราณและหายาก 10 กว่าชนิด ตัวยาสกัดเข้มข้น ซึมลึกเข้าถึงจุด หยุดปวดทันใจ รักษาอาการปวด ปวดข้อ-เข่า ปวดหลัง ปวดเอว ปวดต้นคอ เอ็นร้อยหวายอักเสบ มือเท้าชา มือล็อค ไหล่ติด เส้นยึด ตาลาย ตะคริว

Saturday, June 1, 2019

กระดูกสันหลังเสื่อม มีวิธีป้องกันอย้างนี้

กระดูกสันหลังเสื่อม มีวิธีป้องกันอย้างนี้


เมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ มักต้องเผชิญกับอาการปวดหลังและคอ ซึ่งเป็นอาการกระดูกสันหลังเสื่อม มีวิธีป้องกันดังต่อไปนี้

  • นั่งในท่าที่ดี ตัวตรง มีหมอน หรือ เบาะรองระหว่างหลังเก้าอี้ เพื่อรองรับส่วนบั้นเอว เท้าทั้งสองข้างแตะพื้นพอดี โดยการวางข้อศอกสองข้างบนโต๊ะ จะช่วยลดอาการตึงบริเวณบ่าและคอ เวลาที่ต้องพิมพ์งานเป็นนานๆ ได้
  • วางคอมพิวเตอร์ให้สูงพอดี อยู่ในระยะสายตา จะช่วยให้สายตาของคุณมองต่ำลงมา เป็นมุม 15-20 องศา เพื่อลดอาการตึงบริเวณคอ
  • พักการใช้คอมพิวเตอร์เป็นระยะๆ ผลัดนั่งตัวตรงเป็นเวลา 10-15นาที แล้วลุกขึ้นเดิน ยืดเส้นยืดสาย
  • ไม่นั่ง หรือ ทำกิจกรรมที่อยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานๆ
  • หลีกเลี่ยงการก้มๆ เงยๆ
  • ไม่ยกของหนัก หาคนช่วย หรือ ใช้เครื่องผ่อนแรง
  • ออกกำลังกาย โดยใช้ท่ายืดเหยียดกล้ามเนื้อ และท่าเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลัง
  • ระมัดระวังไม่ให้หลัง ได้รับการกระทบกระเทือน หรือ อุบัติเหตุ


หากป้องกันแล้ว แต่ยังมีอาการปวดจากกระดูกสันหลังเสื่อมตามอายุ ก็สามารถดูแลรักษาในเบื้องต้นด้วยตัวเอง หากไม่ดีขึ้น ค่อยปรึกษาแพทย์



คชาบาล์ม พรีเมี่ยม - สุดยอดบาล์มทานวด รักษาอาการปวดข้อ-เข่า ข้อ-เข่าเสื่อม ปวดกระดูก กระดูกเสื่อม ปวดกล้ามเนื้อ ปวดเส้นเอ็น ปวดต้นคอ ปวดหลัง ปวดเอว มือเท้าชา มือล็อค ไหล่ติด เส้นยึด ตาลาย สลายลิ่มเลือด ขับลมออกจากเส้น อัมพฤกษ์ เหน็บชา ตะคริว เก๊าท์ รูมาตอยด์ กระดูกทับเส้น

Thursday, May 30, 2019

คอเคล็ดมีอาการอย่างนี้

คอเคล็ดมีอาการอย่างนี้


เมื่อบริเวณคอเกิดการบาดเจ็บของเส้นเอ็นหรือกล้ามเนื้อ เรียกอาการนี้ว่า อาการคอเคล็ด อาจเกิดขึ้นโดยไม่พบสาเหตุการบาดเจ็บที่เห็นได้ชัด หรือ เกิดในกรณีได้รับอุบัติเหตุ คอได้รับแรงกระทบอย่างฉับพลัน มีการยืดและหดเกร็งเร็วเกินไป จนเกิดการบาดเจ็บ และมีอาการเคล็ดตามมา อาการคอเคล็ดส่วนใหญ่ดูแลรักษาให้หายได้เอง ด้วยการประคบเย็นและประคบร้อน ร่วมกับการใช้ยาบรรเทาอาการปวด

เมื่อมีอาการคอเคล็ด ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดบริเวณคอด้านที่เคล็ด และปวดมากขึ้น เมื่อเคลื่อนไหวคอ หรือศีรษะ บางคนอาจเคลื่อนไหวคอลำบาก และมีอาการคอแข็ง รู้สึกปวดบริเวณศีรษะด้านหลัง หรือท้ายทอย ปวดหลังช่วงบน และไหล่ นอกจากนี้ อาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย ดังต่อไปนี้
  • เจ็บคอ
  • วิงเวียนศีรษะ
  • หงุดหงิด ไม่มีสมาธิ
  • ได้ยินเสียงวี้ดหรือเสียงคล้ายแมลงหวี่ในหู
  • นอนไม่หลับ
  • อ่อนเพลีย
  • มีอาการชาบริเวณมือหรือแขน
ผู้ที่มีอาการคอเคล็ดควรสังเกตอาการของตนเอง อย่างสม่ำเสมอ และควรไปพบแพทย์เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยอาการ หากเกิดอาการผิดปกติ ดังต่อไปนี้ เนื่องจาก อาจเป็นสัญญาณของอาการบาดเจ็บรุนแรง และเป็นอันตราย
  • ปวดรุนแรงบริเวณที่มีอาการเคล็ด
  • ขยับคอบริเวณที่บาดเจ็บไม่ได้
  • อบวมนูนมากผิดปกติ
  • ผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีคล้ำหรือสีซีด และมีอาการชา
  • บรรเทาอาการด้วยตัวเองในเบื้องต้นแล้วแต่อาการไม่ดีขึ้น


คชาบาล์ม พรีเมี่ยม - สุดยอดบาล์มทานวดรักษาอาการปวดข้อ ปวดเข่า ปวดกระดูก ปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออักเสบ ปวดเส้นเอ็น ปวดต้นคอ คอเคล็ด ปวดหลัง ปวดเอว มือเท้าชา มือล็อค ไหล่ติด เส้นยึด ตาลาย สลายลิ่มเลือด ขับลมออกจากเส้น อัมพฤกษ์ เหน็บชา ตะคริว เก๊าท์ รูมาตอยด์ กระดูกทับเส้น

Wednesday, May 29, 2019

ปวดกล้ามเนื้อมีสาเหตุมาจากอย่างนี้

ปวดกล้ามเนื้อมีสาเหตุมาจากอย่างนี้


โดยทั่วไปแล้ว สาเหตุของการปวดกล้ามเนื้อ ผู้ที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อจะระบุสาเหตุได้ด้วยตัวเอง ซึ่งส่วนใหญ่ เกิดจากการทำกิจกรรมต่างๆ หรือ ความเครียด ได้แก่
  • การเคลื่อนไหวในท่าเดิมซ้ำๆ หรือ ใช้งานกล้ามเนื้อมากเกินไป จนทำให้กล้ามเนื้อเกิดความตึงเครียดสะสม
  • การทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน จนทำให้กล้ามเนื้อได้รับบาดเจ็บ เช่น การทำงาน การออกกำลังกาย เป็นต้น

บางครั้งสาเหตุของการปวดกล้ามเนื้อ มีผลมาจากอาการ โรค หรือ ยา ได้ ซึ่งผู้ป่วยต้องเข้าพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษา ได้แก่ สาเหตุดังต่อไปนี้
  • โรคในกลุ่มกล้ามเนื้อและข้ออักเสบ เช่น โรคโพลีมัยแอลเกีย รูมาติก้า (Polymyalgia Rheumatica) โรคกล้ามเนื้อลายสลาย (Rhabdomyolysis) โรคไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia) โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) เป็นต้น
  • โรคในกลุ่มออโตอิมมูน (Autoimmune) หรือ โรคแพ้ภูมิตนเอง เช่น โรคลูปัส หรือ โรคเอส แอล อี (Lupus, Systemic Lupus Erythematosus) หรือ ที่รู้จักในชื่อโรคพุ่มพวง โรคกล้ามเนื้ออักเสบ (Polymyositis) โรคผิวหนังและกล้ามเนื้ออักเสบ (Dermatomyositis) 
  • โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน เช่น โรคลายม์ (Lyme Disease) ซึ่งเกิดจากเห็บหรือหมัดที่มีเชื้อแบคทีเรียกัด หรือ โรคทริคิโนซิส (Trichinosis) เกิดจากการกินเนื้อสัตว์ดิบ ที่มีพยาธิตัวกลมขนาดเล็ก ชื่อ ทริคิเนลลา สไปราลิส (Trichinella Spiralis)  เป็นต้น
  • เกลือแร่ในเลือดไม่สมดุล (Electrolyte Imbalance) เช่น ปริมาณโพแทสเซียม หรือ แคลเซียม ในร่างกายน้อยเกินไป ซึ่งสามารถทราบได้ด้วย การตรวจเลือด หรือ ปัสสาวะ
  • การติดเชื้อต่างๆ รวมไปถึงโรคมาลาเลีย ไข้หวัด ฝีที่กล้ามเนื้อ โรคโปลิโอ 
  • การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาลดไขมันในกลุ่มสแตติน (Statins) ยาลดความดันโลหิต โคเคน เป็นต้น



คชาบาล์ม พรีเมี่ยม - สุดยอดบาล์มทานวดรักษาอาการปวดข้อ ปวดเข่า ปวดกระดูก ปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออักเสบ ปวดเส้นเอ็น ปวดต้นคอ ปวดหลัง ปวดเอว มือเท้าชา มือล็อค ไหล่ติด เส้นยึด ตาลาย สลายลิ่มเลือด ขับลมออกจากเส้น อัมพฤกษ์ เหน็บชา ตะคริว เก๊าท์ รูมาตอยด์ กระดูกทับเส้น

คอเคล็ด

Tuesday, May 28, 2019

ปวดข้อเท้า หมอวินิจฉัยอย่างนี้

ปวดข้อเท้า หมอวินิจฉัยอย่างนี้


ปวดข้อเท้า เป็นภาวะที่รู้สึกไม่สบายหรือปวดตรงข้อเท้า เกิดได้หลายสาเหตุ ตั้งแต่อาการข้อเท้าเคล็ดธรรมดา ไปจนถึงกระดูกข้อเท้าหัก และบางครั้งปวดข้อเท้ามาก จนทำให้ทิ้งน้ำหนักลงบนข้อเท้าไม่ได้ เดินลำบาก หรือ เดินไม่ได้เลย อาการปวดข้อเท้านี้ป้องกันได้ด้วยการใส่ใจและดูแลข้อเท้า ใช้ข้อเท้าอย่างระมัดระวัง หากมีอาการปวดข้อเท้า อาจรักษาได้ด้วยการพักใช้งานข้อเท้า การประคบ หรือ ปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำเพิ่มเติม แล้วแต่กรณีไป
เมื่อผู้ป่วยไปพบแพทย์ แพทย์อาจวินิจฉัยอาการปวดข้อเท้า ด้วยการซักประวัติ และข้อมูลต่างๆ ของผู้ป่วย เช่น
  • ลักษณะของอาการ และระยะเวลาที่มีอาการ
  • แผล หรือ อาการบาดเจ็บอื่นๆ บริเวณข้อเท้า
  • การใช้งานข้อเท้า
  • โรคประจำตัวของผู้ป่วย ที่อาจเกี่ยวข้องกับ อาการปวดข้อเท้า
นอกจากนี้ แพทย์จะตรวจบริเวณข้อเท้า เพื่อหาความผิดปกติอื่นๆ เพิ่มเติม ได้แก่ อาการอุ่น บวมแดง  กดเจ็บ หรือ อาการข้อต่อหลวม เป็นต้น โดยแพทย์อาจเลือกใช้วิธีทดสอบเพียงวิธีใดวิธีหนึ่ง หรือใช้หลายวิธีในการวินิจฉัยร่วมกัน ซึ่งจะแตกต่างกันไป แล้วแต่กรณีและดุลยพินิจของแพทย์ หากแพทย์สงสัยว่าข้อเท้าหัก แพทย์อาจตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีอื่นๆ เช่น การเอกซเรย์ข้อเท้า เป็นต้น

คชาบาล์ม พรีเมี่ยม - สุดยอดบาล์มทานวดรักษาอาการปวดข้อ ปวดเข่า ปวดกระดูก กล้ามเนื้ออักเสบ ปวดเส้นเอ็น ปวดต้นคอ ปวดหลัง ปวดเอว มือเท้าชา มือล็อค ไหล่ติด เส้นยึด ตาลาย สลายลิ่มเลือด ขับลมออกจากเส้น อัมพฤกษ์ เหน็บชา ตะคริว เก๊าท์ รูมาตอยด์ กระดูกทับเส้น

Monday, May 27, 2019

กล้ามเนื้ออักเสบ หมอรักษาด้วยวิธีนี้

กล้ามเนื้ออักเสบ หมอรักษาด้วยวิธีนี้


วิธีรักษาผู้ป่วยอาการกล้ามเนื้ออักเสบ จะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่เป็น หากแพทย์วินิจฉัยแล้วว่าเป็นกล้ามเนื้ออักเสบที่เกิดจากอาการอักเสบอื่นๆ แพทย์อาจรักษาด้วยยากดระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ได้แก่ ยาเพรดนิโซน (Prednisone) ยาเมโธเทรกเซต (Methotrexateและยาอะซาไธโอพรีน (Azathioprine
กล้ามเนื้ออักเสบที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อ โดยมากพบว่าเป็นเชื้อไวรัส ไม่จำเป็นต้องรักษา แต่หากเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ก็มักจะต้องได้รับยาปฏิชีวนะ เพื่อป้องกันการแพร่ของเชื้อ ที่อาจอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้
กรณีกล้ามเนื้ออักเสบเป็นผลจากการใช้ยา วิธีรักษาก็คือ การหยุดให้ยาชนิดนั้นๆ เช่น การใช้ยาสแตตินเพื่อลดไขมันในเลือด หลังหยุดรับประทานยาชนิดนี้ 2-3 สัปดาห์ อาการอักเสบของกล้ามเนื้อก็จะบรรเทาลงในที่สุด
ผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อลายสลายตามมา จากการอักเสบของกล้ามเนื้อ แม้พบได้ไม่บ่อย แต่สามารถทำให้ไตได้รับความเสียหายอย่างถาวรได้ ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล เพื่อรับสารน้ำทางหลอดเลือดจำนวนมาก อย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน แพทย์จะเฝ้าดูการทำงานของไต หากมีอาการรุนแรง อาจจำเป็นต้องฟอกไต

คชาบาล์ม พรีเมี่ยม - สุดยอดบาล์มทานวดรักษาอาการปวดข้อ ปวดเข่า ปวดกระดูก กล้ามเนื้ออักเสบ ปวดเส้นเอ็น ปวดต้นคอ ปวดหลัง ปวดเอว มือเท้าชา มือล็อค ไหล่ติด เส้นยึด ตาลาย สลายลิ่มเลือด ขับลมออกจากเส้น อัมพฤกษ์ เหน็บชา ตะคริว เก๊าท์ รูมาตอยด์ กระดูกทับเส้น