Tuesday, April 23, 2019

ปวดต้นคอหาหมอ หมอแนะนำอย่างนี้

ปวดต้นคอหาหมอ หมอแนะนำอย่างนี้


เมื่อเกิดอาการปวดเมื่อยตามบริเวณต้นคอและสะบักทั้ง 2 ข้าง มีอาการปวดต้นคอร้าวลงแขนเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งอาจมีอาการชา และอ่อนแรงของแขนร่วมด้วย ตัดสินใจพบแพทย์ แพทย์ก็จะซักประวัติเพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุ และให้คำแนะนำดังนี้

1. ปรับเปลี่ยนท่าทางและการใช้ชีวิตประจำวัน

หลีกเลี่ยงการก้มคอใช้โทรศัพท์มือถือ และไม่ใช้มือถือนานๆ การนั่งอ่านหนังสือนานๆ การแหงนศีรษะ ควรปรับตำแหน่งของจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับสายตาเสมอ ควร เปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ ควรนั่งดูโทรทัศน์แทนการนอนดู เมื่อสูงวัยแล้ว ไม่ควรเล่นแบดมินตัน เพราะเป็นกีฬาที่ต้องแหงนศีรษะเวลาตีลูก ซึ่งการแหงนศีรษะนี้ ทำให้ช่องทางเดินประสาทแคบลง เกิดการกดทับเส้นประสาทเพิ่มมากขึ้น และเกิดการอักเสบของกระดูกสันหลังบริเวณข้อต่อ เมื่อปวดต้นคอ เช่นเดียวกับการนอนบนเตียงสระผม ซึ่งต้องแหงนศีรษะ ก็จะทำให้ช่องทางเดินประสาทแคบลง เกิดการกดทับเส้นประสาทเพิ่มมากขึ้น เช่นกัน จึงควรหลีกเลี่ยงการนอนลักษณะนี้

2. แพทย์แนะนำการทำกายภาพบำบัดด้วยการดึงคอ

ด้วยการใช้แรงดึงกระทำต่อร่างกาย และ กระดูกสันหลังส่วนคอ จะช่วยทำให้ช่องระหว่างกระดูกสันหลัง ส่วนบริเวณคอ กว้างขึ้น ลดการกดทับเส้นประสาท ช่วยในการยืดกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ

3. การรับประทานยาลดปวด ยาลดการอักเสบ

การกินยาแก้อักเสบ ก็จะช่วยทำให้อาการปวด อาการชาทุเลาลงได้ แต่มีข้อควรระวัง คือ ไม่ควรรับประทานต่อเนื่องนานเกิน 1 เดือน และ ต้องรับประทานยาหลังอาหารทันที เพราะอาจจะมีผลทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร

4. การฉีดยาชาระงับปวดเข้าไประหว่างชั้นกล้ามเนื้อ 

จะช่วยให้ กล้ามเนื้อตรงบริเวณคอ และบริเวณบ่า และกล้ามเนื้อรอบๆ สะบัก คลายตัวลง ลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ แพทย์จะฉีดเข้าไปตรงบริเวณที่อยู่ของเส้นประสาท ที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อที่มีอาการเกร็งตัว เพื่อลดการนำสื่อประสาท จะช่วยลดอาการปวดได้ดีมากโดยเฉพาะในช่วงระยะ 2 สัปดาห์หลังการฉีด




คชาบาล์ม พรีเมี่ยม : สุดยอดบาล์มทานวด แก้ปวด ต้นคอ บ่า ไหล่ ปวดข้อ ปวดเข่า ปวดหลัง ปวดเอว ปวดเอ็น ข้อมืออักเสบ นิ้วล็อค ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

No comments:

Post a Comment