Monday, May 6, 2019

ปวดเมื่อยมีสาเหตุมาจากอย่างนี้

ปวดเมื่อยมีสาเหตุมาจากอย่างนี้


อาการปวดเมื่อย อาจเกิดจากการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ลักษณะของการใช้ชีวิต การรักษาทางการแพทย์ หรือ อาจเกิดจาก ปัญหาสุขภาพการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ดังต่อไปนี้


จากการใช้ชีวิต หรือการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน

  • นอนน้อย พักผ่อนไม่เพียงพอ
  • ทำกิจกรรมที่ต้องออกแรงอย่างหนัก เช่น ยกของหนัก ลากของหนัก ออกกำลังกายอย่างหนัก เป็นเวลานานๆ
  • น้ำหนักเกิน หรือ อยู่ในภาวะอ้วน
  • ขาดการออกกำลังกาย หรือ ขาดการทำกิจกรรมที่เพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อร่างกาย
  • รับประทานอาหารที่ไม่ถูกสุขอนามัย
  • อยู่ในช่วงมีประจำเดือน ซึ่งมีสภาวะทางอารมณ์ไม่คงที่
  • การเดินทางข้ามเขตเวลาโลก (Jet lag)
  • ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ หรือการใช้ยาเสพติด
  • บริโภคคาเฟอีนจาก ชา หรือ กาแฟ มากจนเกินไป


จากการใช้ยาและการรักษาทางการแพทย์

  • การใช้ยาที่ทำให้เกิดผลข้างเคียง เป็นอาการเมื่อยล้าหมดแรง เช่น ยาแก้ปวด ยาแก้ไอ ยาต้านฮิสตามีน ยาขับปัสสาวะ ยารักษาความดันโลหิต ยาสเตียรอยด์ ยารักษาโรคหัวใจ ยาต้านเศร้า ยาคลายกังวล ยานอนหลับ เป็นต้น
  • การบำบัดรักษาโรค เช่น รังสีบำบัด เคมีบำบัด



จากการเจ็บป่วยด้วยโรคและปัญหาสุขภาพทางร่างกาย

  • ภาวะขาดธาตุเหล็ก
  • โรคเบาหวาน
  • โรคโลหิตจาง
  • ป่วยด้วยโรคหวัด หรือไข้หวัดใหญ่
  • โรคปวดกล้ามเนื้อ หรือ มีอาการเจ็บปวดบริเวณใดบริเวณหนึ่งอย่างเรื้อรัง
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการนอน เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ นอนไม่หลับ โรคลมหลับ
  • ภาวะข้ออักเสบ หรือ ข้ออักเสบรูมาตอยด์
  • ต่อมไทรอยด์ทำงานมากกว่า หรือน้อยกว่าปกติ
  • โรคแอดดิสัน (Addison Disease) ที่ต่อมหมวกไตทำงานได้น้อยกว่าปกติ
  • โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง
  • ความผิดปกติเกี่ยวกับการกิน เช่น โรคคลั่งผอมหรือโรคกลัวอ้วน (Anorexia Nervosa) ทำให้ผู้ป่วยอดอาหาร
  • โรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง เช่น โรคพุ่มพวง (Lupus)
  • เจ็บป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับตับหรือไต เช่น โรคไตเรื้อรัง ตับวายเฉียบพลัน
  • ภาวะติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อจากโรคไวรัสตับอักเสบ ปรสิต วัณโรค การติดเชื้อเอชไอวี
  • ป่วยด้วยโรคถุงลมโป่งพอง หรือ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ซึ่งมักเกิดจากการสูบบุหรี่อย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลานาน
  • โรคทางเส้นประสาท เช่น โรคปลอกประสาทอักเสบ เส้นประสาทส่วยปลายถูกกด 
  • โรคมะเร็งต่าง ๆ
  • ศีรษะกระแทก สมองถูกกระทบกระเทือน หรือได้รับบาดเจ็บ
  • โรคหัวใจ เช่น ภาวะเยื่อบุหัวใจอักเสบติดเชื้อแบคทีเรีย ภาวะหัวใจล้มเหลว 
  • กลุ่มอาการล้าเรื้อรัง (Chronic Fatigue Syndrome) ซึ่งเป็นอาการเมื่อยล้าอย่างต่อเนื่อง และยาวนานกว่า 6 เดือน


จากการเจ็บป่วยด้วยปัญหาสุขภาพทางจิตใจ

  • มีความเครียด ความวิตกกังวล 
  • เกิดความเบื่อหน่าย
  • ภาวะซึมเศร้า หรือ เผชิญกับความเศร้าโศกเสียใจอย่างหนัก
  • โรคทางอารมณ์ที่เกี่ยวข้องกับฤดูกาล ผู้ป่วยจะมีอารมณ์ซึมเศร้า หดหู่ ไม่มีแรง เฉพาะในช่วงฤดูกาลนั้นของทุกปี และจะมีอาการดีขึ้นเมื่อฤดูกาลนั้นผ่านพ้นไป ผู้ป่วยแต่ละคนจะมีอาการป่วยในช่วงฤดูที่แตกต่างกัน โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยโรคนี้ มักมีอาการในช่วงฤดูหนาว


หากมีอาการเมื่อยล้านานกว่า 2 สัปดาห์ หรือเริ่มเป็นเรื้อรัง โดยที่อาการไม่ดีขึ้น แม้จะได้รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ และผ่อนคลายความตึงเครียดไปแล้วก็ตาม ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อให้แพทย์ทำการตรวจวินิจฉัยและรักษา


คชาบาล์ม สมุนไพรแก้ปวดเมื่อย
โรคกระดูกสันหลังเคลื่อน

No comments:

Post a Comment